Tuesday, 30 April 2024

“พลาสเตอร์” ที่เริ่มจากการประหยัด

ปก "พลาสเตอร์" ที่เริ่มจากการประหยัด

พลาสเตอร์ปิดแผล ถือเป็นอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่หลายคนนำมาใช้สำหรับปิดแผลไม่ใหญ่มากนัก รู้หรือเปล่าว่าที่มาของมันเกิดจากความที่คุณสามีอยากประหยัดเวลาในการทำแผลให้คุณภรรยา

อย่างที่รู้ เกิดอุบัติเหตุ และมีบาดแผล ทุกครั้งเรามักต้องใช้อุปกรณ์ในการทำแผลหลายอย่าง อาทิ ผ้าก็อต ยาน้ำ อุปกรณ์ทำความสะอาด กรรไกร การกลัดหรือติดให้ผ้าพันแผลติดกันไม่หลุดระหว่างวัน ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวถ้าเป็นปัจจุบันเรียกได้ว่าสามารถใส่กล่องใบเล็กๆ พกพาไปได้ แต่ถ้าเป็นสมัยก่อน การจะพบพาอุปกรณ์ดังกล่าวที่ยังมีขนาดใหญ่มันคงเป็นได้ยาก รวมถึงขั้นตอนในการทำแผลอาจต้องใช้ระยะเวลา ดั้งนั้นจึงมีคนคิดค้นวิธีทำแผลให้ง่ายขึ้น ด้วยการทำพลาสเตอร์ปิดแผล

สำหรับ “พลาสเตอร์ปิดแผล” เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1920 ที่ เอิร์ล ดิกสัน ผู้เป็นสามีทำงานอยู่บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ส่วนภรรยาของเขา โจซิฟิน ดิกสัน เป็นแม่บ้านมือใหม่ ที่มักจะมีความซุ่มซ่าม ทำตัวเองบาดเจ็บเป็นประจำ ทำให้ เอิร์ลผู้เป็นสามีต้องคอยดูแล ทำแผลให้ทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และด้วยอยากที่เขาอยากประหยัดเวลาในการทำแผล เขาจึงคิดนำผ้าก๊อตไปวางไว้บนเทปกาว จึงทำให้เขาสามารถพันแผลด้วยผ้าก็อตได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น  นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการทำพลาสเตอร์ปิดแผล

เลือกใช้พาสเตอร์ให้ถูกประเภท

หลังจากนั้น เขาจึงนำไอเดียนี้ไปเสนอนายจ้าง ซึ่งนายจ้างก็เห็นด้วยแนวคิดนี้ ประกอบกับ บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเองก็เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ทำแผลชั้นนำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผ้าก็อตหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งได้รับการฆ่าเชื้ออย่างดี ดังนั้น การเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตคนเข้ามาจึงเป็นเรื่องที่น่าท้าทายอย่างยิ่ง ดังนั้นการผลิตพลาสเตอร์ยาออกสู่ตลาดจึงเริ่มขึ้น

พลาสเตอร์ปิดแผลเริ่มต้นที่ขนาดกว้าง 3 นิ้วและยาว 18 นิ้ว แม้ในตอนแรกจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่การปรับปรุงขนาดและการใช้งานของมัน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่ดี ให้เห็นถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ ทำให้มันเป็นที่นิยมในเวลาต่อมาในชื่อ band-aid หลังจากนั้นพลาสเตอร์ปิดแผลมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านขนาด ชนิดของเทปกาว ยาที่ใช้ ผิวสัมผัสผ้าก็อตที่ได้รับการปรับปรุง หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์ที่มีการฆ่าเชื้อให้สามารถใช้และสัมผัสกับแผลได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

ปัจจุบันเรามีพลาสเตอร์ปิดแผลหลากหลายขนาด เหมาะกับบริเวณและรูปร่างต่าง ๆ ของแผล ไม่ว่าจะเล็กใหญ่ กลม เหลี่ยม หรือว่าเป็นแถบ ตัวเทปกาวเองก็ผลิตออกมาจากหลายวัสดุเช่นผ้าที่มีความยืดหยุ่นสูงและติดแน่นกว่าแบบพลาสติกบาง พลาสติกแบบใส หรือแม้แต่เป็นแผ่นฟิล์ม ลวดลายของเทปก็มีหลายสีหลากลวดลายที่ทำให้ไม่ต้องเคอะเขินเวลาปิด ไปจนถึงทำให้เด่นเป็นกระแสแฟชั่นต่าง ๆ

owenhillforsenate จะพามารู้จักวิธีใช้ “พลาสเตอร์” ให้ดีกว่าเดิม เป็นแผลควรปิดอย่างไร ? เวลาที่เราเป็นแผลนั้น หลายคนสงสัยว่า เราควรปิดพลาสเตอร์หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับพลาสเตอร์ปิดแผลกัน เวลาที่เป็นแผล สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดก็คือ การติดเชื้อ การที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่รอยเปิดที่ผิวหนัง แล้วลามลงไปสู่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับแผลทำให้แผลติดเชื้อรุนแรง มีอาการบวม มีกลิ่นเหม็น มีหนอง ดังนั้น เมื่อเป็นแผล ควรทำความสะอาดแผลให้ถูกวิธี  ไม่ควรปล่อยปละละเลย

หลังจากทำแผลเรียบร้อยแล้ว การปิดพลาสเตอร์จะช่วยป้องกันแผลจากการติดเชื้อ และช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผลได้ ควรระวังไม่ให้พลาสเตอร์ปิดแผลเปียก ถ้าพลาสเตอร์เปียก ควรรีบเปลี่ยนพลาสเตอร์ทันที และควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกวัน จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น

พลาสเตอร์แบบต่างๆ

เลือกใช้พลาสเตอร์ให้เหมาะสม

– แผลมีขนาดใหญ่ ควรจะเลือกใช้พลาสเตอร์ชนิดปิดแน่น หรือกึ่งปิดแน่น เพื่อคงความชุ่มชื้น

– แผลขนาดกลาง หรือเป็นแผลบนฝ่ามือ หัวเข่า และบริเวณอื่นที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย ก็ควรเลือกใช้พลาสเตอร์แบบแถบกาว ซึ่งควรจะสามารถกันน้ำได้ พร้อมกับมีรูระบายอากาศด้วย เพื่อทำให้เมื่อปิดแผลแล้ว แผลจะได้สะอาด ไม่อับชื้น ไม่มีการติดเชื้อโรคที่อาจจะมากับน้ำ

– แผลมีขนาดเล็ก และไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย ควรเลือกใช้พลาสเตอร์ขนาดเล็กหรือเลือกรูปแบบพลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล หรืออาจไม่จำเป็นต้องใช้

สนับสนุนโดย ib888.vip