คุกกี้ คือขนมอบ มีรูปทรงเยอะแยะไปหมด ซึ่งทำจากแป้งสาลี คำว่าคุกกี้มีที่มาจากคำในภาษาดัตช์ koekje ซึ่งหมายถึง “เค้กชิ้นเล็ก ๆ” แรกเริ่มเดิมทีนั้น คุกกี้ทำโดยการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเข้าเตาอบ เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก
คำว่า “คุกกี้” (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า “บิสกิต” (biscuit) owenhillforsenate จะพามาดูประวัติความเป็นมาของขนมคุกกี้กันนะคะ
ประวัติของ คุกกี้
ขนม คุกกี้ ( cookie ) มีต้นกำเนิดมานาน โดยต้องย้อนกลับต้นกำเนิดขึ้นในครั้งแรกตอนศตวรรษที่ 7 มาจากแถบเปอร์เซีย ที่ตอนนี้กลายเป็นประเทศ อิหร่าน แล้ว ต้องยอมรับว่า คุกกี้ ( cookie ) เป็น ขนท ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก หลังจากที่ คุกกี้ ( cookie ) กำเนิดขึ้นในเปอร์เซียแล้ว คุกกี้ ( cookie )ก็เริ่มเผยแพร่ไปยังทวีปยุโรป หลังจากช่วงที่ประเทศสเปนเริ่มลุกลามมุสลิม จนเวลาผ่านไปนานจนถึงศตวรรษที่ 14 คุกกี้ ( cookie )ก็กลายมาเป็นขนมที่ชาวยุโรปนิยมทานกัน ถือว่ามีความนิยมอย่างมาก จนมีขายกันแทบทุกร้านขนม ร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารที่มีความหรูหรา
คุกกี้ ( cookie ) คือ เป็นขนมที่เก็บไว้กินได้เป็นเวลานาน ซึ่งเป็นข้อดีที่ทำให้นักท่องเที่ยว หรือคนที่ชอบการเดินทาง มักจะมีติดตัวไว้เสมอ หิวเมื่อไหร่ก็เอาออกมาทานได้ตลอดเวลา เพราะมีอายุที่อยู่ได้นาน ไม่เสียง่าย ๆ คุกกี้ ( cookie ) เป็นขนมที่มีติดไว้ที่บ้านเป็นของทานเล่นระหว่างการดื่มชา กาแฟ มีหลากหลายประเภท มากถึง 6 ประเภท โดยประกอบไปด้วย คุกกี้หยอด , คุกกี้ม้วน , คุกกี้กด , คุกกี้ปั้น , คุกกี้แท่ง หรือคุกกี้บาร์ มาดูกันว่า แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
มีวิธีการแบ่งชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1.แบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่
1.1. คุกกี้ที่มีไขมันเป็นส่วนผสมหลักมีส่วนผสมหลักคือ ไขมันเนย เช่น เนยสด เนยขาว หรือมาร์การีน ซึ่งแต่ละชนิดจะส่งผลให้คุกกี้มีราคาถูก – แพงไม่เท่ากัน เช่น ถ้าใส่เนยสดอย่างเดียว ก็จะราคาสูงกว่าที่ใส่เนยขาว และมาร์การีน ส่วนการขึ้นฟูของคุกกี้ เกิดขึ้นในขั้นตอนการตีเนยกับน้ำตาล ถ้าตีจนขึ้นฟูมากไปก็จะทำให้เนื้อเหลว ขึ้นรูปทรงได้ยาก
1.2. คุกกี้ที่มีไข่เป็นส่วนผสมหลัก มีปริมาณไข่มากกว่าคุกกี้ประเภทแรก การขึ้นฟูเกิดขึ้นในขั้นตอนการตีไข่กับน้ำตาล ถ้าปริมาณไข่มากเกินไปก็ส่งผลต่อการขึ้นรูปทรงของคุกกี้ ดังนั้นปริมาณไข่ในแต่ละสูตรจึงต้องพอเหมาะ ไม่มากน้อยจนเกินไป
2 . แบ่งตามวิธีการขึ้นรูปร่าง
2.1. คุกกี้หยอด (Dropped Cookies)
เนื้อคุกกี้จะมีลักษณะเหลว จึงมักใช้ช้อนตักหยอดลงบนถาด หรืออาจใช้หัสบีบ หรือถุงบีบ ช่วยในการขึ้นรูปก็ได้
2.2. คุกกี้กด (Pressed Cookies)
ส่วนผสมจะข้นกว่า คุกกี้หยอด สามารถใช้กระบอกกดให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
2.3. คุกกี้ปั้น (Moulded Cookies)
เนื้อคุกกี้ค่อนข้างแห้ง เพราะมีปริมาณไขมันสูงและสามารถใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น เนื้อผลไม้อบแห้ง อัลมอนด์ และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลงไปได้ เหมาะสำหรับปั้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการ
2.4. คุกกี้คลึง (Rolled Cookies)
ส่วนผสมจะแห้งกว่าคุกกี้ปั้น จึงสามารถคลึงให้เป็นแผ่นแล้วใช้พิมพ์กดเป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการก่อนนำไปอบให้สุก
2.5. คุกกี้แท่งหรือคุกกี้บาร์ (Bar Cookies)
มีส่วนผสมใกล้เคียงกับเค้กมาก อีกทั้งเนื้อสัมผัสก็จะนุ่ม แต่บางชนิดเนื้ออาจจะกรอบหรือเหนียว ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของส่วนผสม เช่น แป้ง นม และไข่ แต่ส่วนมากปริมาณของของเหลวจะมีน้อยกว่าเค้ก และนิยมอบในพิมพ์สี่เหลี่ยมจนสุกก่อนนำมาตัดเป็นชิ้นตามต้องการ
2.6. คุกกี้แช่เย็น (Refrigerated Cookies)
ส่วนใหญ่จะคลึงให้เป็นแผ่นบาง ๆ จากนั้นม้วนดป็นแท่ง แล้วนำไปแช่ตู้เย็นให้อยู่ตัว ตัดเป็นชิ้นบาง ๆ ตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการก่อนนำไปอบ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานเป็นเดือนโดยไม่ต้องอบ
สนับสนุนโดย slotdirect777.com