owenhillforsenate พาทุกคนทำความรู้จักโจ๊ก อาหารเช้ามื้อเช้าที่ดี คือ มื้อเช้าที่ไม่บั่นทอนร่างกายและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โจ๊กเองคงอยู่ในเมนูสุดโปรดของใครหลายคน เพราะกลิ่นที่หอม รสชาตินวลๆ ชื่นใจ ยิ่งได้กินในอากาศเย็นๆ แบบนี้ ยิ่งฟิน แล้วรู้หรือไม่โจ๊ก นอกจากความอร่อยประโยชน์ก็ครบถ้วนไม่ต่างกัน
ตำนานโจ๊ก อาหารประวัติศาสตร์ของชนชาติจีนที่ต้องใช้ศิลปะในการปรุง เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยกิน “โจ๊ก” มาตั้งแต่เด็กและอาจคิดว่าเป็นอาหารที่ทำกันง่ายๆ แต่จริงๆ แล้วอาหารชนิดนี้มีที่มายาวนานก่อนประวัติศาสตร์จีนซะอีกลองมาดูตำนานของอาหารชนิดนี้กัน
“โจ๊ก” มีการปรุงกันมาอย่างยาวนานก่อนประวัติศาสตร์จีนจะมีการบันทึกเรื่องข้าว ในตำรา The Zhou Book ระบุเอาไว้ว่า ฮ่องเต้หวงตี้ (ปฐมจักรพรรดิของจีนตั้งแต่ พ.ศ.323 พระองค์ถือเป็นต้นกำเนิดชนชาติจีนทั้งมวล) คือบุคคลแรกที่ทำอาหารประเภทนี้โดยการผสมข้าวฟ่างลงไปเป็นส่วนผสม ซึ่งอาจเป็นบันทึกครั้งแรกที่พูดถึงเรื่องโจ๊กว่าเป็นการต้มข้าวด้วยน้ำจำนวนมาก
ในสมัยราชวงศ์ชิง แผ่นดิน ฮ่องเต้หย่งเจิ้น (ค.ศ.1722-1735) ได้มีการจับจ่ายโจ๊กแก่ราษฎร เนื่องจากเกิดภัยแล้งคุกคามครั้งใหญ่ แต่เกิดการคอรัปชั่นขึ้นโดยการโกงข้าวและใส่น้ำลงไปมากๆ แทนในโจ๊ก เมื่อฮ่องเต้ทรงทราบจึงได้บัญญัติการต้มโจ๊กว่าต้องมีความข้นมากพอจนปักตะเกียบลงไปแล้วตะเกียบตั้งตรงไม่ล้ม โจ๊กไม่ใช่อาหารที่ปรุงแบบง่าย แต่ต้องใช่ศิลปะในการทำอาหาร โดยเคยมีนักปราชญ์สมัยราชวงศ์ชิง นามว่า หยวน เม่ย (Yuan Mei) เคยกล่าวไว้ว่า “โจ๊กที่มีน้ำมากเกินไปและข้าวที่น้อยเกินไป ไม่จัดว่าเป็นโจ๊กที่เยี่ยมยอด โจ๊กที่มีข้าวมากเกินไปและน้ำที่น้อยเกินไปก็ไม่จัดว่าเป็นโจ๊กที่เยี่ยมยอด ได้เหมือนกัน หากจะกล่าวถึงโจ๊กอันเยี่ยมยอด สัดส่วนระหว่างน้ำและข้าวต้องระมัดระวังให้สมดุลกัน น้ำและข้าวต้องประสานเป็นเนื้อเดียวกัน“
น้ำ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการปรุงโจ๊กก็สำคัญไม่แพ้กัน ไป๋ จู ยี่ (Bai Ju Yi) นักกวีที่มีชื่อเสียงในอดีตของจีนเคยกล่าวไว้ว่า น้ำที่ใช้ต้มโจ๊กต้องมีคุณภาพที่ต้องเข้มงวดในการเลือกใช้อย่างยิ่ง โดยใช้น้ำของฝนแรกในฤดูใบไม้ผลิ , น้ำจากหิมะในช่วงกลางฤดูหนาวซึ่งมีสรรพคุณทางยา
ความร้อน อีกสิ่งที่ต้องเอาใจใส่ในการปรุงคือความร้อนในการปรุง หากใช้ไฟต่ำไปโจ๊กจะไม่มีกลิ่นหอม แต่ถ้าไฟแรงเกินก็จะขาดกลิ่นหอมไปเช่นกัน
โจ๊ก นับว่าเป็นอาหารเข้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งมีชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญในการปรุงโจ๊กเป็นอย่างมาก ซึ่ง “ฮ่องกง” ก็เป็นพื้นที่ที่ได้รับวัฒนธรรมอาหารกวางตุ้งมา
ฮ่องกง เป็นดินแดนทางการค้าซึ่งเป็นดินแดนของชาวจีนที่เปิดให้ชาวตะวันตกเข้ามา และได้สอนอาหารชนิดนี้ให้ชาวตะวันตกได้รู้จัก และมีชื่อ “โจ๊กฮ่องกง” ตามมาชาวตะวันตกเรียกอาหารประเภทโจ๊กว่า Congee (คอนจี) โดยคำนี้มีที่มาจากคำว่า “คันจิ” (kanji) ของชาวทมิฬในภาษาอินเดีย ซึ่งมีความหมายว่าการต้มข้าวนั่นเอง ในหลายๆประเทศก็มีอาหารประเภทโจ๊กอยู่โดยเฉพาะในเอเชีย แต่เรียกต่างกันไปทั้งในอินโดนีเซีย,ญี่ปุ่น, เกาหลี รวมทั้งในประเทศไทยเอง ประเทศไทย นิยมทานโจ๊กเป็นอาหารเช้า ใส่หมูสับปั้น เครื่องใน เติมไข่ไก่โรยหน้าด้วยขิงซอย,ต้นหอมซอย เป็นอาหารเช้าที่ถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่
สำหรับหลายๆ คนที่เคยกินโจ๊ก และติดใจในรสชาติของโจ๊กที่นุ่มนวลละมุนลิ้น อาจจะมองว่าโจ๊กเป็นเพียงแค่อาหารถ้วยเล็กๆ ที่ดูเหมือนว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วอาจจะไม่อิ่มท้อง หรือว่าอิ่มได้ไม่นานก็หิวขึ้นมาอีก ซึ่งเรื่องนี้ต้องบอกว่าเป็นแค่ความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละคน เพราะที่จริงแล้วการกินโจ๊กสักถ้วยนั้น มีประโยชน์ มีโภชนาการทางคุณค่าอาหารที่ไม่แพ้ใคร ซึ่งหากทานโจ๊กหนึ่งถ้วยจะได้รับพลังงานถึง 400 แคลอรี (แต่ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องปรุงด้วย) อีกทั้งโจ๊กยังมีคุณสมบัติที่เป็นอาหารเพื่อการบำบัด เพราะว่าย่อยง่าย มีส่วนช่วยในระบบการหมุนเวียนของเลือดลมในร่ายกาย แถมโจ๊กยังเป็นอาหารเย็นที่เหมาะแก่การกินในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนเกินไป และอาจจะดูเหมือนว่าโจ๊กนั้นมีข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ที่จริงแล้วก็สามารถเติมผักและสมุนไพรลงไปเพื่อเพิ่มประโยชน์ในทางบำบัด ได้ด้วย เช่น ถ้าโจ๊กทำด้วยข้าวกล้อง ก็จะมีกากใยสูง และมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์กับแม่ที่กำลังให้นมลูกอยู่ แต่ถ้าเป็นข้าวสาลี เหมาะกับคนที่เป็นไข้ จะทำให้การขับถ่ายคล่องตัว ส่วนขิงที่ใส่มาในโจ๊กก็ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและแก้ปัญหาการติดเชื้อ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการย่อย ท้องเสีย นอนไม่หลับและอาเจียน
สนับสนุนโดย fun88m.vip