Friday, 29 March 2024

ตำนาน ความเกาเหลา

03 Apr 2023
264

ปก ตำนาน ความเกาเหลา

“เกาเหลา” หรือก๋วยเตี๋ยวไร้เส้น อาหารคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย ถูกปาก กินง่าย สั่งง่าย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า “เกาเหลา” แท้จริงแล้วมาจากไหน และแปลว่าอะไรกันแน่ วันนี้ owenhillforsenate จะพามาตามรอยอาหารคลาสสิกของคนไทยอย่าง “เกาเหลา” ที่มีความเป็นมาสุดว้าว ใครอยากรู้ลึกรู้จริง ไปอ่านกันเลย

ที่มาของคำว่า “เกาเหลา” ไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า “เกาเหลา” อาจเป็นคำที่มาจากภาษาจีนอย่าง “เกาโหลว”  ซึ่งหมายถึงตึกระฟ้า คงจะเริ่มงงแล้วใช่ไหมล่ะว่าชื่ออาหารมันไปเกี่ยวอะไรกับตึกระฟ้า แถมที่แปลกกว่านั้นก็คือ คำว่า “เกาเหลา” เป็นคำที่ได้อิทธิพลมาจากจีนก็จริง แต่ตามประวัติศาสตร์อาหารจีน กลับไม่มีอาหารที่เรียกว่า “เกาเหลา” อยู่เลย แล้วมันยังไงกันแน่

เราคงต้องพาผู้อ่านย้อนเรื่องราวไปถึงภัตตาคารยุคแรก ๆ ในประเทศจีนกัน ภัตตาคารมักจะสร้างเป็นตึกสูง เพื่อให้โดดเด่นจนลูกค้าเห็นได้ตั้งแต่ไกล ๆ จะได้เข้าไม่ผิดร้านนั่นเอง คนที่จะมากินที่ภัตตาคารเหล่านี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ดีมีเงิน เพราะนอกจากอาหารจะปรุงด้วยวัตถุดิบอย่างดีแล้ว ยังได้ชมวิวหลักล้าน และมีพนักงานคอยบริการเพจคลินิกภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่าในตอนนั้น มีภัตตาคารตึกสูงอันโด่งดังแห่งหนึ่งเสิร์ฟเนื้อตุ๋นปรุงแต่งรสด้วยเครื่องเทศ และเครื่องปรุงรสโดยไม่มีเส้นก๋วยเตี๋ยว แขกไปใครมาก็เรียกกันจนติดปากว่า “ไปกินเกาโหลว” ซึ่งหมายถึง การไปกินอาหารในภัตตาคารอันลือชื่อแห่งนี้นั่นเอง

เกาเหลาเนื้อ

หากจะพูดถึงบุคคลสำคัญที่ทำให้เมนูเกาเหลาดังไม่หยุดฉุดไม่อยู่ในประเทศจีนล่ะก็ ต้องขอบคุณกวีเอกนามว่า “ซูตงโพ” ท่านนิยมเนื้อตุ๋นปรุงพิเศษแบบนี้มาก โดยเฉพาะที่ทำมาจากเนื้อหมู จึงมีสูตรเนื้อหมูตุ๋นที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “เนื้อตุ๋นสูตรซูตงโพ” นั่นเอง ท่านสนับสนุนอาหารท้องถิ่นมาก ๆ โดยเฉพาะการทำอาหารแบบเนื้อตุ๋น เพราะท่านเห็นว่าการมีเมนูเด็ดประจำจังหวัดจะทำให้ท้องถิ่นนั้นมีชื่อเสียงและนำรายได้มาสู่ชุมชนได้ ภัตตาคารทั่วประเทศจึงเลียนแบบการปรุงอาหารสูตรพิเศษนี้ ขายกันทั่วไปจนกลายเป็นอาหารแสนธรรมดาที่หากินได้ทั่วไปในประเทศจีน

เมื่อคนจีนอพยพเข้ามาที่เมืองไทยจำนวนมาก ก็ไม่ได้มีแต่เสื่อผืนหมอนใบเท่านั้น แต่ยังมีต้นตำรับการปรุงอาหารแบบเนื้อตุ๋นที่ไม่ใส่เส้นเข้ามาเผยแพร่ในไทยด้วย เวลาผ่านไป คนไทยก็เรียกกันจนเพี้ยนเสียงจาก “เกาโหลว” เป็น “เกาเหลา” นั่นเอง

คราวนี้เราจะมาลงลึกถึงประวัติศาสตร์เกาเหลาในประเทศไทยกันบ้าง ในสมัยก่อน เกาเหลาถือเป็นอาหารบรรดาศักดิ์ของเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ไม่ต่างจากในประเทศจีนที่เป็นอาหารจานหรูของคนรวย เกาเหลาเข้าวังครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ช่วงนั้นมีการทำบุญเลี้ยงพระ รัชกาลที่ 4 ต้องการทำเกาเหลาถวายพระ แต่ด้วยความที่เป็นอาหารสุดแปลกจากประเทศจีน ไม่มีนางก้นครัวคนไหนปรุงได้ เพราะเกาเหลามีเครื่องในซึ่งคนไทยทำไม่เก่ง ขั้นตอนการปรุงก็แสนยุ่งยาก จำเป็นต้องใช้กุ๊กจีนมาทำเท่านั้น ถึงขนาดที่ต้องมีตำแหน่ง “เจ้ากรมเกาเหลาจีน” มาดูแลอย่างเป็นจริงเป็นจังเลยทีเดียว

เกาเหลาเลือดหมู

จากก๋วยเตี๋ยวสร้างชาติสู่เกาเหลาสารพัดจะดัดแปลง

ในยุคที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านมีนโยบายรัฐนิยมที่สนับสนุนให้ประชาชนกินก๋วยเตี๋ยว ซึ่งจอมพล ป. เห็นว่า หากประชาชนหันมาร่วมกันกินก๋วยเตี๋ยว จะเป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจของชาติ เพราะตอนนั้นเป็นยุคข้าวยากหมากแพงอย่างแท้จริง ข้าวสารขาดแคลนอย่างหนัก ซึ่งนโยบายนี้ก็ได้ผล ก๋วยเตี๋ยวเริ่มฮิตติดตลาด คนไทยนิยมกินกัน

หลังจากที่ก๋วยเตี๋ยวกลายเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้วนั้น ก็เริ่มมีการดัดแปลงเป็นสูตรต่าง ๆ ทั้งแบบแห้ง แบบน้ำต้มยำ แบบไทย แบบจีน และที่พิเศษหน่อยคือแบบไม่ใส่เส้นหรือที่เรียกกันว่า “เกาเหลา” ซึ่งอย่างหลังมักมีราคาแพงกว่า ทั้ง ๆ ที่ไม่ใส่เส้นด้วยซ้ำ คงเพราะมันเน้นแต่เนื้อนั่นเอง

สนับสนุนโดย betflik789.pro