อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร หากไม่อยากทุกข์ทรมานจากการป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร ก็ต้องแก้ที่การรับประทานอาหารเช่นกัน owenhillforsenate จะมาแนะนำอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับป้องกันโรคกระเพาะและลำไส้มีดังต่อไปนี้
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แหล่งอุดมของเส้นใย
คือคาร์โบไฮเดรตที่เกิดขึ้นเองจากการสะสมตามธรรมชาติ โดยผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด หรือไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปใดเลย คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการแปรรูปนี้ อุดมไปด้วยเส้นใย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบย่อยอาหาร เพราะอาหารที่มีเส้นใยสูง ใช้เวลาในการย่อยในกระเพาะอาหารน้อยมาก (หากปรุงให้สุกและกินให้พอดี ถั่วและพืชชนิดต่างๆ จะใช้เวลาในการย่อยประมาณ 80-90 นาทีเท่านั้น) เมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่นๆ
ยิ่งกินอาหารที่เป็นกากใยในแต่ละวันมากขึ้น อาหารก็จะถูกย่อยเร็วมากขึ้นเท่านั้น เพราะเส้นใยที่รับประทานเข้าไป จะช่วยดูดซับน้ำเอาไว้ และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยในการดูดซึมของผนังกระเพาะอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารให้หายเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มกากใยในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ จึงทำให้การขับถ่ายดีขึ้น และนอกจากนั้น การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ยังทำให้เรารู้สึกอิ่มนาน ไม่หิวบ่อย และไม่ต้องกินจุบจิบตลอดเวลา ซึ่งทำให้กระเพาะอาหารได้พักการทำงาน
ไขมันไม่อิ่มตัว เพิ่มประสิทธิภาพกระเพาะอาหาร
ไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับคือ ไขมันไม่อิ่มตัว เพราะร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ มักจะพบในธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวต่างๆ ถั่วฝักอ่อน เมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็งและน้ำมัน เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวที่ผลิตได้จากพืชเหล่านี้ มีความสำคัญต่อกระเพาะอาหารของ เราโดยตรง กล่าวคือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งรวมถึงระบบการเผาผลาญอาหารในกระเพาะอาหารด้วย ให้มีประสิทธิมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการกินอาหารทอดมากๆ เช่น มันฝรั่งทอด หอมทอด ปลาทอด ขนมโดนัท ถือว่าเป็นการทำร้ายกระเพาะของเราเช่นกัน เพราะอาหารเหล่านี้ หากนำไปทอดในน้ำมันความร้อนสูง จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี ทำให้เกิดกรดไขมันอิสระ ซึ่งฤทธิ์ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและเยื่อบุลำไส้ได้
โปรตีนจากปลา ช่วยในการดูดซึม
โปรตีนคุณภาพดีและมีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร คือ โปรตีนจากปลาครับ เพราะปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมาก เมื่อเทียบกับโปรตีนชนิดอื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารดูดซึมได้เร็วขึ้น แล้วในปลายังมีกรดอะมิโน ที่จำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
ส่วนอาหารโปรตีนสูงที่มาจาก เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น เป็นโปรตีนที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร เพราะใช้เวลาในการย่อย และการเผาผลาญนานมาก (ราว 48-72 ชั่วโมง) ทั้งนี้หากกระเพาะอาหารไม่สามารถย่อย และดูดซึมโปรตีนเหล่านี้ได้หมด อาจเกิดการตกค้างและนำไปสู่โรคอันตราย เช่นมะเร็งได้
ผักหลากชนิด วิตามินเกลือแร่
ผักใบเขียวจัด หลายชนิดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ และช่วยเพิ่มการดูดซึมอีกด้วย ผักใบเขียวจัดเหล่านี้ได้แก่
– คะน้า อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยบำรุงสายตา ต้านทานการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร
– ผักโขม มีวิตามินเอ กรดอะมิโน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
– ปวยเล้ง โพแทสเซียมสูง ช่วยความคุมความดันให้เป็นปกติ ทั้งยังช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง การกินผักที่มีเบตาแคโรทีนสูง จะช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารสมานกันเร็วขึ้น ป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ผักและผลไม้ที่มีเบเต้าแคโรทีนสูง อาทิ
– ฟักทอง ในเนื้อของฟักทองอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส วิตามินซี และมีกากใยสูง
– มะเขือเทศ มีวิตามินอี วิตามินซี โพทัสเซียม ช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น
– มะละกอ วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูง ที่ช่วยในการขับถ่าย และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ข้อดีของการทำให้ลำไส้แข็งแรง
ข้อดีของการดูแลลำไส้ด้วยวิธีทำให้ลำไส้แข็งแรงนั้น แน่นอนว่าระบบการขับถ่ายของคุณก็จะสามารถดำเนินไปได้ดีตามปกติ ร่างกายก็จะไม่เป็นแหล่งสะสมของเสีย รู้สึกเบาสบายท้อง ลดความเสี่ยงการเกิดอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร ไปจนกระทั่งมะเร็งลำไส้ และวิธีการทำให้ลำไส้แข็งแรงด้วยอาหารที่ดีต่อลำไส้นั้นจะส่งผลโดยตรงกับผิวพรรณของคุณ ทั้งปัญหาเรื่องสิวโดยเฉพาะสิวเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ปัญหาผิวหมองคล้ำดูไม่สดใส
สนับสนุนโดย pgslot168th.vip