Wednesday, 3 April 2024

ต้องการแคลเซียมเท่าไหน? ถึงจะเพียงพอต่อร่างกาย

ปก-ต้องการแคลเซียมเท่าไหน-ถึงจะเพียงพอต่อร่างกาย

แคลเซียม เป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย มีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานนับตั้งแต่ระดับเซลล์ การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ และมีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน โดยเฉพาะแคลเซียมในเลือด ที่ส่งผลโดยตรงต่อการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาท โดยปกติแล้วแคลเซียมจะสะสมอยู่ในรูปกระดูกและฟัน ดังนั้น หากแคลเซียมในเลือดลดลง ร่างกายก็จะไปนำแคลเซียมที่สะสมไว้มาใช้ หรือที่เรียกว่า “สลายกระดูก” ทำให้กระดูกบาง พรุน เปราะ และหักง่าย คนในแต่ละช่วงอายุจึงต้องการปริมาณแคลเซียมที่ต่างกัน เพื่อให้สมดุลกับกระบวนการทำงานของร่างกาย

“ช่วงเด็กเล็ก” นับตั้งแต่แรกเกิด – 3 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 200-700 มิลลิกรัม/วัน เพื่อใช้สำหรับเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ฟัน เล็บ รวมถึงช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายให้สมวัย

“วัยเด็ก” อายุ 3 – 10 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 600-800 มิลลิกรัม/วัน เด็กวัยนี้ต้องการสารอาหารสำหรับเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นช่วงวัยที่เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังก่อรูปกระดูก หากได้รับแคลเซียมต่อวันไม่เพียงพอ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกอ่อน กระดูกไม่แข็งแรง เมื่อใช้ร่างกายหนักจะมีอาการปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ และเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย

นมที่มีแคลเซียม

“วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่” อายุ 11 – 55 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 800-1,000 มิลลิกรัม/วัน เป็นช่วงที่เจริญเติบโตเร็วที่สุด จนถึงอายุประมาณ 20 ปี และเมื่ออายุเกิน 25 ปีไปแล้ว ร่างกายจะเจริญเติบโตช้าลง ในวัยผู้ใหญ่ที่เป็นวัยทำงาน จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ

“ผู้สูงอายุ” อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรได้รับแคลเซียมมากกว่าคนวัยอื่น คือ ประมาณ 1,000-1,200 มิลลิกรัม/วัน เมื่ออายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปแล้ว ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมน้อยลงและเริ่มไม่สะสมแคลเซียม จึงทำให้เกิดปัญหากระดูกและฟัน ทำให้กระดูกเปราะ พรุน และไม่แข็งแรง เนื่องจากแคลเซียมที่อยู่ในรูปกระดูกและฟันของคนวัยสูงอายุเสื่อมลงไปตามสภาพร่างกาย

ใครบ้างควรเสริมแคลเซียม ควรเริ่มกินตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

ร่างกายของเราเมื่ออายุมากขึ้น การดูดซึมแคลเซียมของร่างกายก็ค่อยๆลดลงไป  และยิ่งเมื่อเข้าสู่อายุ 30 ปีร่างกายจะยิ่งดูดซึมแคลเซียมได้ลดลง ซึ่งแคลเซียมมีบทบาทสำคัญสำหรับร่างกาย หน้าที่หลักของแคลเซียมคือ นอกจากทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงแล้ว แคลเซียมยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น มีส่วนช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยในการทำงานของสารสื่อประสาท ช่วยในการแข็งตัวของเลือด วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากกันค่ะว่าใครบ้างที่ควรเลือกรับประทานแคลเซียม

ใครบ้างควรรับประทานแคลเซียม

หญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซี่ยมเนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างทางด้านร่างกายของทารกในครรภ์  ซึ่งหากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อทั้งมารดาและทารก เช่น เกิดอาการชา ตะคริว การเจริญเติบโตของทารกช้าลง ทารกตัวเล็กลง เป็นต้น

วัยเด็ก (อายุ 1-10 ปี)

ควรได้รับแคลเซียมเพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย

หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการแคลเซียม

วัยรุ่น (11-25 ปี)

จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังจะก่อรูปกระดูกจึงควรได้รับแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าขาดแคลเซียมในช่วงนี้จะทำให้เป็นโรคโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหักได้

ผู้ใหญ่

เป็นวัยที่ควรได้รับแคลเซียมเช่นกัน เนื่องจาก แคลเซียมในร่างกายจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 30 ปี จึงควรเสริมการรับประทานแคลเซียมให้กับร่างกายในช่วงนี้ ค่ามวลกระดูกสูงสุด(peak bone mass) ในช่วงอายุ20-24ปีหลังจากนั้นมวลกระดูกที่ลดลงเป็นลำดับโดยจะเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 35-40 ปีในเพศหญิง และช่วงอายุประมาณ 40-45 ปี ในเพศชายซึ่งมวลกระดูกของเพศหญิงจะลดลงในอัตราที่รวดเร็วกว่าเพศชาย โดยเฉพาะช่วงหลังหมดประจำเดือน

หญิงให้นมบุตร

ก็จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเช่นกัน เนื่องจาก การสูญเสียแคลเซียมของคนปกตินั้นมักจะสูญเสียทางปัสสาวะ ในขณะที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรต้องใช้แคลเซียมในปริมาณมากเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการสร้างน้ำนม ทำให้คุณแม่ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก และบางรายอาจเกิดภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้หากรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ

สนับสนุนโดย betflik789.pro