Friday, 29 March 2024

โรคในเด็กที่เราไม่เคยรู้และมักเกิดกับเจ้าหนูวัยซน

26 Feb 2023
225

ปก โรคในเด็กที่เราไม่เคยรู้และมักเกิดกับเจ้าหนูวัยซน

เพราะเด็กๆ มักมีเรื่องเจ็บป่วยอยู่เสมอ โรคในเด็กที่เราไม่เคยรู้และมักเกิดกับเจ้าหนูวัยซน owenhillforsenate จึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักกับโรคในเด็กต่างๆ ที่ถือเป็นวายร้ายของเจ้าตัวน้อย พร้อมลักษณะอาการ เพื่อให้เตรียมรับมือได้อย่างดีที่สุดหากเกิดขึ้นกับลูกรักของคุณ

  1. โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ถึงแม้จะมีอาการไม่รุนแรงนัก แต่ก็เป็นโรคที่สร้างความไม่สบายเนื้อสบายตัวให้กับเด็กๆ ได้มากทีเดียว โดยเฉพาะกับเจ้าหนูตัวน้อย เมื่อต้องเผชิญกับตุ่มและผื่นที่ขึ้นตามมือและเท้า  มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยเฉพาะในเด็กทารกและเด็กเล็ก ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต พบมากในช่วงฤดูร้อน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ผู้ปกครองสามารถป้องกันโรคมือ เท้า ปากได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้เด็กใกล้ชิดกับผู้ป่วย รักษาสุขอนามัย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสะอาด

  1. โรคอีสุกอีใส

เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก (แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคอีสุกอีใสได้เช่นกัน) อาการของโรคมักจะไม่รุนแรง อาจมีไข้ต่ำๆ ตุ่มขึ้นตามร่างกายประมาณ 7-10 วันมักจะหายได้เอง โรคอีสุกอีใสมีวัคซีนป้องกัน แต่หากลูกรักของคุณเกิดป่วยเป็นโรคนี้ขึ้นมา คุณสามารถช่วยบรรเทาผื่นและตุ่มที่ขึ้นตามร่างกายจนทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวได้ด้วยการอาบน้ำให้เด็กๆ ด้วยน้ำเย็น และให้ลูกดื่มน้ำมากๆ โดยทั่วไปผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสแล้วมักจะไม่กลับมาเป็นอีก

อีสุกอีใส

  1. โรคหัด

โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัส มักจะพบได้เสมอในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่มักไม่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6-8 เดือนเนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อาการของโรคมักจะเกิดขึ้น 7-10 วัน โดยเด็กๆ จะมีไข้สูง ผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย อาการคล้ายโรคหวัด อย่างไรก็ตาม คุณสามารถพาลูกๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดได้แนะนำให้ฉีดเข็มแรกเมื่อเด็กอายุได้ 9-12 เดือน และให้ฉีดเข็มที่ 2 เมื่ออายุได้ 4-6 ปี และข้อดีอย่างหนึ่งของโรคหัดก็คือ โดยมากแล้วเด็กๆ ที่ป่วยเป็นโรคหัดจะหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องกินยา

  1. โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส และแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ โดยทั่วไปเมื่อป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาการของโรคจะไม่รุนแรงนัก โดยจะมีไข้สูง และหายได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ การป้องกันโรคไข้เลือดออกสามารถทำได้ด้วยการพ่นยากำจัดยุง ติดตั้งมุ้งลวดหรือมุ้งกันยุงตอนกลางคืน ซึ่งถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยในการปกป้องเด็กๆ จากไข้เลือดออกเนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไข้เลือดออก

  1. โรคไอพีดีและปอดบวม

โรคไอพีดี หรือที่เรียกว่า Invasive Pneumococcal Disease (IPD) คือ โรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “นิวโมคอคคัส” ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งมีความรุนแรงและอาจทำให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

ถ้าติดเชื้อที่ระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง เด็กเล็กจะมีอาการงอแง ซึม และชักได้ ส่วนการติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง งอแง ถ้ารุนแรงอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ดีถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบพามาพบแพทย์ทันที

นอกจากนี้เชื้อ “นิวโมคอคคัส” ยังเป็นสาเหตุหลักของโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบได้อีกด้วย ซึ่งจากข้อมูลการประเมินขององค์กรอนามัยโลกและยูนิเซฟพบว่า ปอดบวมเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยมีเด็กที่เสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 2 ล้านคนต่อปี ซึ่งมากกว่าโรคเอดส์ มาลาเรีย และหัดรวมกัน

  1. โรคเด็กเตี้ย

ความเตี้ยมักเกี่ยวข้องกับ 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ หนึ่ง ภาวะเตี้ยที่ตรวจพบพยาธิสภาพ บางรายอาจมีเพียงสาเหตุเดียว แต่บางรายอาจมีหลายสาเหตุรวมกัน เนื่องจากการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นผลรวมของปัจจัยต่างๆ (Integrated Effects) ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม อาหาร ฮอร์โมนเจริญเติบโต สุขภาพกาย สุขภาพใจ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ดังนั้นความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของปัจจัยดังกล่าวจะทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ตามศักยภาพของพันธุกรรม

สอง ภาวะเตี้ยที่ไม่ทราบสาเหตุหรือเตี้ยตามพันธุกรรม จะพบได้บ่อย 2 ชนิด คือ ภาวะเป็นหนุ่มสาวช้าโดยที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนสำคัญในการกำหนดจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ความเป็นหนุ่มสาว และมักจะมีประวัติครอบครัวว่าบิดาหรือมารดาเป็นหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ หรือมารดามีประจำเดือนครั้งแรกช้า (อายุ 14-18 ปี) หรือบิดาเมื่อเป็นเด็กมักตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ เริ่มโตเร็วเมื่อเรียนชั้นมัธยมปลาย และมีความสูงสุดท้ายปกติ

รวมถึงภาวะเตี้ยตามพันธุกรรม คือ มีพ่อหรือแม่เตี้ย หรือหากเตี้ยทั้งพ่อและแม่ รวมทั้งปู่ย่าตายาย ก็จะชัดเจนมากขึ้นว่าเตี้ยจากพันธุกรรม แต่ทั้งนี้ผู้ปกครองควรสังเกตการเติบโตอย่างใกล้ชิด โดยดูจากสมุดสุขภาพประจำปีของเด็ก

สนับสนุนโดย live22.win