Thursday, 4 April 2024

6 สารปนเปื้อนในอาหาร อันตรายใกล้ตัว

27 Sep 2022
374
ปก 6 สารปนเปื้อน ทุกครั้งที่กินอาหารนอกจากจะต้องคํานึงถึงคุณค่าทางโภชนาการแล้ว สิ่งสําคัญที่ต้องคํานึงถึงอย่างมากก็คือ เรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของอาหาร เนื่องจากอาหารทั้งหลายกว่าจะมาถึงมือผู้บริโภคอย่างเรานั้น ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การผลิตตลอดจนการเก็บรักษาซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนได้ทั้งสิ้น สารเร่งเนื้อแดง เป็นสารเคมีกลุ่มเบต้านีส ซึ่งปกติใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืดในคนและสัตว์เท่านั้น แต่มักมีการลักลอบนําสารนี้มาผสมอาหารเลี้ยงสุกรเพิ่มเนื้อแดงและลดไขมันตามความต้องการของตลาดจึงเกิดเป็นสารตกค้างในเนื้อสุกร ถ้าได้รับสารนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมากจะทําให้เกิดอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางประสาท มีผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด สารกันรา สารกันราหรือกรดซาลิก เป็นกรดที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก แต่ผู้ผลิตบางรายมักนํามาใช้เป็นสารกันเสียในอาหารแห้ง พริกดองหรือน้ำดองผักผลไม้เพื่อป้องกันเชื้อราและช่วยให้น้ำดองผักผลไม้ดูใสเหมือนใหม่อยู่เสมอสารปนเปื้อนนี้ มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทําให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เกิดผื่นคัน อาเจียนได้ และหากได้รับสารนี้ในปริมาณมากมาก จะทําให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และลําไส้ได้ สารฟอกขาว สารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่ยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาล โดยมีการลักลอบใช้สารฟอกขาวที่ อย.ไม่อนุญาต เช่น โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือโซเดียมไดโอไนท์ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการฟอกสีกระดาษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ทําให้เกิดอาการปวดหลัง อาเจียน อุจจาระร่วง ความดันโลหิตต่ำลง หายใจไม่สะดวก หลอดลมหดตัว ช็อคหมดสติ และเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหอบหืด สารบอแรกซ์ สารบอแรกซ์ / น้ำประสานทอง หรือผงกรอบมีลักษณะคือ ไม่มีกลิ่นเป็นผลึกละเอียด ผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี เป็นอันตรายต่อร่างกาย และห้ามใช้ในอาหารทุกชนิด บอแร็กซ์มีคุณสมบัติทําให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนเกิดลักษณะหยุ่น กรอบ และเป็นวัตถุกันเสียได้ จึงมักมีการลักลอบผสมลงในอาหาร เช่น หมูบด ปลาบด ลูกชิ้น มะม่วงดอง ผักกาดดอง เป็นต้น เพื่อให้ หากบริโภคเข้าไปสะสมในร่างกายนานเข้า จะทําให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ระคายเคืองลําไส้และกระเพาะอาหาร อุจจาระร่วง เป็นพิษต่อตับ ไต และสมอง สารฟอร์มาลิน สารฟอร์มาลีน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ มักใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นน้ำยาดองสด ลักษณะทั่วไปเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว มักใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อรักษาผ้าไม่ให้ย่น ห้ามใช้ในอาหารทุกชนิดแต่ยังมีการลักลอบใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น อาหารทะเลสด เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ เป็นต้น หากร่างกายได้รับในปริมาณมากจะทําให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร หากสัมผัสอยู่เป็นประจําจะเกิดการสะสมจนทําให้ร่างกายอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

สมุนไพรบำรุงเลือดสามารถช่วยลดอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหารได้หรือไม่?

สมุนไพรบำรุงเลือดเช่น ต้นหอมแดง, หางไหล, และฟ้าทะลายโจร ได้รับความนิยมในการใช้เป็นอาหารเสริมที่ช่วยลดอันตรายจากสารปนเปื้อนในอาหาร. การใช้สมุนไพรบำรุงเลือดเป็นประจำสามารถเสริมระบบภูมิคุ้มกันและช่วยลดการสะสมสารพิษในร่างกายได้. สำหรับคนที่มีปัญหาการดึงสารพิษจากอาหาร การใช้สมุนไพรบำรุงเลือดเช่น herbal blood tonic อาจเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาสุขภาพจากอันตรายจากสารปนเปื้อน.

และสารฆ่าแมลง 6 สารปนเปื้อนที่ต้องระวัง

สารเคมีกําจัดศัตรูพืช ซึ่งชาวบ้านจะเรียกง่ายๆว่า ยาฆ่าแมลง แต่ยาขอใช้คําว่า สารฆ่าแมลงดีกว่าจะได้ไม่สับสนกับยาที่เราใช้รักษาโรค เพราะเจ้าสารฆ่าแมลงนี้เป็นวัตถุที่มีพิษนํามาใช้เพื่อป้องกันกําจัดศัตรูพืช เพื่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งต้องทิ้งระยะให้สารหมดความเป็นพิษก่อนการเก็บเกี่ยว หรือเก็บพืชผักนั้นมากินกัน สารฆ่าแมลงเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะขัดขวางการทํางานของระบบประสาท

 อาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดจากการกินอาหารที่มีสารปนเปื้อน

ทั้งในคนและสัตว์เมื่อสะสมในร่างกายจนถึงระยะเวลาหนึ่ง อาจทําให้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง หายใจลําบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน กล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่ลิ้นและหนังตากระตุก ชักและหมดสติ โดยระดับความเป็นพิษขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติของสารเคมีแต่ละชนิด วิธีการได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณความถี่ สุขภาพของผู้ได้รับสารพิษ

วิธีปฏิบัติตัวที่จะป้องกันอันตรายจากสารปนเปื้อน

วิธีปฏิบัติตัวที่จะป้องกันอันตรายจากสารปนเปื้อน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนในอาหาร ต้องเลือกซื้ออาหารจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ สังเกตเนื้อหมูที่มีสัดส่วนของเนื้อแดงที่ไม่มากผิดปกติของธรรมชาติเนื้อหมูซึ่งโดยธรรมชาติจะมีไขมันแทนที่อยู่บ้าง เช่น สันนอก ถ้ามีสีแดงเข้มมีไขมันแทรกน้อยกว่าปกติ อาจมีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน ซึ่งอาจมีการผสมสารกันรา ถั่วงอก ขิงหั่นฝอย โดยสังเกตจากสีของถั่วงอกที่มีสีขาวมากและสีของขิงที่มีสีสดไม่เป็นสีน้ำตาล ซึ่งอาจมีการใช้สารฟอกขาว หมูบด ลูกชิ้น โดยสังเกตจากความหยุ่นกรอบของอาหารที่ยังคงสภาพอยู่ ไม่บูด เสียง่าย แม้เวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจมีส่วนผสมของสารบอแรกซ์ ผัก หรืออาหารทะเลสด โดยสังเกตจากความสดของผัก ที่ไม่เหี่ยว ผิดธรรมชาติ นอกจากการเลือกซื้อแล้ว ก่อนการประกอบอาหารทุกครั้ง ควรล้างผักผลไม้เพื่อลดการปนเปื้อนของสารฆ่าแมลง ด้วยการเด็ดผักเป็นใบ และใช้น้ำสะอาดไหลผ่านหลายๆครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 30 วินาที ความแรงพอประมาณใช้มือถูใบหรือผลไม้ประมาณ 2 นาที หรือหากต้องการล้างผักผลไม้ปริมาณมากๆ ให้ล้างด้วยเบกกิ้งโซดา ครึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้น้ำส้มสายชูก็ได้ โดยใช้น้ำส้มสายชูหนึ่งส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน แช่ทิ้งไว้10-15นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด สนับสนุนโดย ebet88.vip