แม้ว่าปัจจุบันจะมีไฟฟ้าใช้กันแล้ว แต่เทียนไขก็ยังมีบทบาทในชีวิตและสังคม เพราะความผูกพันนั้นฝังรากลึกอยู่ในความรู้สึกนึกคิดในเชิงสัญลักษณ์ ที่ปรากฏผ่านวัฒนธรรมของหลายชนชาติ ดังเช่นในเทศกาลเข้าพรรษาของศาสนาพุทธบ้านเรา ท่ามกลางความแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทำให้การส่งทอดความหมายของเทียนขาดพร่องอยู่บ้าง จึงเกิดข้อสังเกตและข้อสงสัยหลายอย่าง ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ หากรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราด้วย owenhillforsenate จะพามาร่วมเจาะลึกความลับของเทียนไขให้ถึงระดับอณูกันเถอะ
“เทียน” มีความเป็นมาอย่างไร
ประวัติของเทียนมีหลายแหล่ง บ้างว่าเริ่มต้นเมื่อ 2,200 ปีก่อนในประเทศจีน เทียนสมัยนั้นทำจากไขปลาวาฬ บ้างก็ว่าทางยุโรปมีเทียนใช้มาแต่ยุคโบราณเหมือนกัน ทำจากไขมันพืช ไขมันสัตว์และขี้ผึ้ง โดยใช้แก่นของพืชเป็นไส้เทียน เช่น ต้นกก
เมื่อเทียบไขมันสัตว์กับขี้ผึ้งแล้ว ขี้ผึ้งมีคุณภาพดีกว่ามาก เผาไหม้สะอาดกว่า เกิดควันน้อยกว่า กลิ่นดีกว่า เทียนขี้ผึ้งจึงมีราคาแพง มีใช้แต่ในบ้านเศรษฐี หรือในพิธีทางศาสนาในโบสถ์คริสต์ เปลวไฟสูงมากๆ ก็ทำให้เกิดเขม่ามากไปด้วย จึงต้องคอยตัดไส้ไม่ให้ยาวมาก
ต่อมาใน ค.ศ. 1848 เจมส์ ยัง นักเคมีชาวสก็อต กลั่นไขพาราฟินได้จากถ่านหิน พาราฟินที่ได้นั้นเผาไหม้ดี ไม่มีกลิ่น ราคาถูก ใช้ผลิตเทียนได้คราวละมาก เทียนจากพาราฟินจึงเริ่มเป็นที่นิยม
ประเทศตะวันตกมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับเทียนไหม
“เทียน” นอกจากจะให้แสงสว่าง ช่วยขับไล่ความมืด ยังเป็นสัญลักษณ์ของอะไรหลายอย่าง เช่น การบูชา ความหวัง กำลังใจ ความรัก การระลึกถึง การผ่อนคลาย เป็นต้น จึงมีการใช้เทียนในโอกาสต่างๆกันทั่วโลก เช่น ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ ใช้เทียนในการประกอบพิธีเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ
นอกจากนี้ ยังนิยมจุดเทียนเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส วันเกิด หรือเทียนบนเค้กแต่งงาน อย่างที่คนไทยก็รับวัฒนธรรมนี้มาด้วย รวมทั้งมีการจุดเทียนชีวิตคู่ในพิธีแต่งงานที่โบสถ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของบ่าวสาว ว่าแต่ละคนเกิดมามีชีวิตของตัวเอง (ถือเทียนคนละเล่ม) เมื่อมาแต่งงานกันก็มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ร่วมกันเป็นครอบครัว (นำเทียนของตัวเองไปจุดเทียนชีวิตคู่ ในพิธีจึงมีเทียนทั้งหมด 3 เล่ม)
อีกหนึ่งพิธีการจุดเทียน ซึ่งเริ่มแพร่ไปในหลายประเทศ ได้แก่ การจุดเทียนแสดงความอาลัยผู้เสียชีวิตที่เป็นเด็ก ซึ่งเชื่อว่าแสงเทียนจะช่วยส่องทางให้แก่ดวงวิญญาณเหล่านั้น โดย องค์กรเดอะคอมแพสชั่นเนทเฟรนด์ (The Compassionate Friends) ในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนด วันจุดเทียนทั่วโลก (Worldwide Candle Lighting Day) ในวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนธันวาคมของทุกปี เวลาหนึ่งทุ่มตามเวลาท้องถิ่น เริ่มมาตั้งแต่ปี 1997 เพื่อไว้อาลัยแก่เด็กๆ ที่เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่างๆทั่วโลก และเชิญชวนคนทุกชาติทุกศาสนาร่วมกันจุดเทียนด้วย
“เทียน” ยังคงสร้างบทบาทใหม่ของตัวเองในวิถีชีวิตของคนยุคใหม่อยู่เสมอ แล้วแต่ว่าจะมีการนำไปใช้เพื่อประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ใดบ้าง เช่นที่คนไทยสมัยก่อนใช้เทียนอบขนมให้หอมกรุ่น แต่ยุคสมัยนี้นิยมทำเป็นเทียนแฟนตาซีประดับเพื่อความสวยงาม หรือเทียนหอมเพื่อให้กลิ่นสร้างความผ่อนคลาย เป็นต้น
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและเริ่มพัฒนาให้เทียนมีประสิทธิภาพและเห็นได้ชัดคือในช่วงศตวรรษที่ 18 การเติบโตของอุตสาหกรรมในสมัยนั้น ส่งผลให้นักเคมีได้เรียนรู้สารที่มีคุณลักษณะคล้ายขี้ผึ้งที่เกิดขึ้นจากการกลั่นของปิโตเลียมในชื่อว่า Parafin ในปี 1850 ที่มีคุณสมบัติเผาไหม้ได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีกลิ่น มีสีขาวอมฟ้า อีกทั้งต้นทุนต่ำสามารถผลิตเทียนได้เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เทียนได้รับความนิยมและเริ่มใช้กันเพื่อส่องแสงสว่างในบ้านมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งนั้นถือว่าเป็นจุดสูงสุดของเทียนในช่วงนั้นก็ว่าได้
โดยอุตสาหกรรมของเทียนเริ่มเติบโตขึ้นและพัฒนาการผลิตในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เทียนได้ถูกปรับเปลี่ยนและดีไซน์ขึ้นใหม่ทั้งรูปทรงและบรรจุภัณฑ์และได้เพิ่มความหอมให้กับเทียนด้วยกลิ่นหอมนานาชนิดที่ทำให้เทียนเปรียบเสมือนตัวแทนความหอมให้กับบ้าน หนึ่งในแบรนด์เทียนชื่อดังอย่าง Diptyque ถือว่าเป็นแบรนด์เทียนแรกๆที่เริ่มผลิตเทียนหอมขึ้นในปี 1963 โดย Christiane Gautrot, Desmond Knox-Leet และ Yves Coueslant ที่สร้างสรรค์เทียนหอม 3 กลิ่นแรกอย่างกลิ่น Aubépine, Cannelle และ Thé จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปารีส และทำให้เกิดแบรนด์อื่นๆ ตามมาจนกลายเป็นอีกหนึ่งสินค้าความงามที่อยู่คู่กับโลกความงามจนถึงปัจจุบัน
สนับสนุนโดย jokerslotz.club