หากให้นึกถึง ‘แมงกะพรุน’ (Jellyfish) ที่ใกล้ตัวคุณมากที่สุด อาจไม่พ้นการที่เห็นมันนอนนิ่งๆ อยู่ในชามเย็นตาโฟหรือไม่ก็หม้อสุกี้ น่าเสียดายที่ชีวิตของแมงกะพรุนกลับเป็นที่รู้จักเพียงแค่นั้น ทั้งๆ ที่ตัวมันเองซุกซ่อนความมหัศจรรย์ไว้อีกมาก (แต่ลวกพอสุกก็กินอร่อย) เพราะแมงกะพรุนบางสายพันธุ์ครอบครอง ‘ความอมตะ’ (Immortality) อันเป็นนิรันดร์ที่มนุษย์นั้นอยากช่วงชิงบ้าง ซึ่งเรื่องราวของมันถูกค้นพบเพราะ ‘ความบังเอิญ’ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากเหล่านักวิทยาศาสตร์ขี้ลืม วันนี้ owenhillforsenate เลยถือโอกาสพามาดูวงจรของแมงกระพรุนกันค่ะ
ภารกิจตามหากลไกอายุวัฒนะในสิ่งมีชีวิตเป็นเทรนด์สุดฮิตของสถาบันวิจัยทั่วทุกแห่ง แน่นอนว่าหากใครปลดล็อคได้ ก็อาจนำมาซึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาการและทุนสนับสนุน เพราะใครๆ ก็พร้อมจ่ายเพื่อให้ตัวเองมีอายุยืนยาวด้วยกันทั้งนั้น ทำให้ชีวิตแมงกะพรุนถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่ และในสายตาของนักชีววิทยาเองมักมองแมงกะพรุนมีชีวิตไม่ต่างจาก ‘สัตว์ต่างดาวที่อาศัยบนโลก’
วงจรชีวิตของแมงกะพรุน หากพูดให้นึกภาพง่ายๆ ให้นึกถึงผีเสื้อที่มีการกลายร่างจากไข่ เป็นตัวหนอน เป็นดักแด้ จนเข้าสู่ตัวเต็มวัย… แมงกะพรุนก็มีหลักการคล้ายๆ กัน คือวัยเด็กของมัน หน้าตาไม่ได้เหมือนพ่อแม่ แต่วงจรชีวิตแมงกะพรุนมีความล้ำกว่าตรงที่ว่า ไข่ที่ได้รับการผสม 1 ฟอง สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นแมงกะพรุนได้หลายตัว
วงจรชีวิตของแมงกะพรุนทั่วๆ ไป เริ่มจากแมงกะพรุนตัวผู้และตัวเมียปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาในมวลน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมจะเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะ ‘Planula’ ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนตัวจิ๋วลอยละล่องตามกระแส มันจะมีชีวิตราว 2-3 วัน แล้วก็เริ่มหาที่ลงเกาะบนพื้นทะเล
จากนั้นมันก็จะเติบโตและทำการโคลนนิ่งตัวเองด้วยการแตกหน่อ โดยเกาะติดอยู่ที่พื้นทะเล ระยะนี้เรียกว่า ‘Polyp’ เมื่อมันเติบโตขึ้นจนถึงระยะที่เหมาะสม แต่ละหน่อก็จะสละยานแม่ แยกตัวออกเป็นอิสระ กลายเป็นแมงกะพรุนน้อยๆ มากมายล่องลอยในมวลน้ำ ช่วงแรกๆ หน้าตาจะคล้ายกลีบดอกไม้แฉกๆ เรียกระยะ ‘Ephyra’ ก่อนจะเติบโตจนหน้าตาเป็นแมงกะพรุนแบบที่เราคุ้นเคยกัน ที่เรียกว่าระยะ ‘Medusa’
แล้ว Medusa นี้ก็จะกลายเป็นขุ่นพ่อขุ่นแม่แมงกะพรุน ปล่อยไข่และสเปิร์มเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของวงจรชีวิตแมงกะพรุนคือ แม้ว่า Medusa แต่ละตัว จะแยกตัวผู้กับตัวเมียชัดเจน แต่ในระยะที่มันเป็น Polyp มันสามารถโคลนนิ่งตัวเองออกมาได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย หรือพูดอีกอย่างว่า จากไข่และสเปิร์มหนึ่งคู่ จะได้ผลผลิตเป็นแมงกะพรุนที่มี DNA เหมือนกันหลายตัวที่มีทั้งตัวผู้และตัวเมียปะปนกัน
อย่างไรก็ตาม วิธีและรูปแบบการแตกหน่อของแมงกะพรุนแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันมาก บางชนิดช่วงแตกหน่อจะดูเหมือนจานซ้อนกันเป็นชั้นๆ บางชนิดแตกหน่อออกด้านข้าง บางชนิดไม่มีระยะ Polyp แต่เป็น Medusa เองที่ทำหน้าที่แตกหน่อ ส่วนวิธีผสมพันธุ์ของแมงกะพรุนแต่ละชนิด ก็มีความแตกต่างกันมากมาย บางชนิดมีสองเพศในตัวเดียว บางชนิดไข่ได้รับการผสมภายในตัวแม่และมันก็อุ้มท้องด้วย
ในปี 2016 เกิดเหตุบังเอิญ (บังเอิญอีกแล้ว!) เมื่อนักศึกษาชาวจีน Jinru He ลืมดูแลแมงกะพรุนพระจันทร์ (Moon jellyfish) เขาพบมันลงไปนอนแน่นิ่งใต้ก้นบ่อ ร่างกระจุยเป็นชิ้นๆ ถ้าคนอื่นเห็นก็คงตักไปทิ้งแล้ว แต่นักศึกษาคนนี้เลือกจะจับตาดูร่างแมงกะพรุนต่ออีกหลายเดือน ก็ต้องตกตะลึงเมื่อร่างของแมงกะพรุนค่อยๆ ซ่อมแซมตัวเองอีกครั้ง ไม่ต่างจากนกฟีนิกซ์ที่เกิดใหม่จากเถ้าธุลี หนวดค่อยๆ งอกใหม่กลับไปสู่ร่างโฟลิป
เซลล์ของมันล้วนเป็นเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตอีกเรื่อยๆ ราวกับไม่มีขีดจำกัด เซลล์กล้ามเนื้อของ Turritopsis สามารถเปิด/ปิดยีนได้ ทำให้เซลล์เหล่านี้ย้อนกลับได้หลายครั้ง ซึ่งหากเราสามารถไขความลับนี้ได้ วิทยาการแพทย์สมัยใหม่อาจค้นพบกระบวนการรักษาที่เกี่ยวกับเซลล์เสื่อมสภาพได้ อาทิ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) หรือโรคมะเร็งที่เซลล์เนื้อร้ายเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากเรานำความรู้ที่ได้จากแมงกะพรุนมาใช้เปิด/ปิดยีนเจริญเติบโตเซลล์มะเร็ง ก็อาจพบทางสว่างในการรักษามะเร็งที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยต่ำ
สนับสนุนโดย baccaratnine.com