Thursday, 4 April 2024

วิธีการผลิตดินสอ

ปก-วิธีการผลิตดินสอ

ดินสอ ที่เราใช้มาตั้งแต่เด็ก ๆ เขาทำกันอย่างไร ? ไม้ที่ใช้ผลิตดินสอเป็นไม้อะไร และที่สำคัญก็คือเจ้าไส้ดำ ๆ เข้าไปอยู่ในดินสอได้อย่างไร

ดินสอไม้ นับเป็นเครื่องเขียนยอดนิยมอันดับหนึ่งตลอดกาลในใจของใครหลาย ๆ คนอย่างไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วัยเด้กถึงวัยผู้ใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในความทรงจำในวัยเด็กที่ไม่อาจจะลืมวันที่ต้องหัดเขียน ก.ไก่ เป็นครั้งแรก

ดินสอไทยโบราณจะเป็นแบบไม่มีไส้ สกัดมาจากหินเป็นสี่เหลี่ยมแท่งเล็ก ๆ อีกแบบหนึ่งคือดินสอที่กรองมาจากดินแล้วนำมาปั้นเป็นเหมือนงาช้าง จะเป็นสีขาว สีเหลือง สีดำ แล้วแต่หินหรือดินที่เรานำมาใช้

ในขณะที่ดินสอฝรั่ง สังเกตุดูจนถึงปัจจุบันจะมีไม้ประกบ FABERCASTELL ประเทศอินโดนิเซีย หนึ่งในโรงงานผลิตดินสอไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีขบวนการผลิตดินสอที่ครบวงจร วัตถุดิบจากไส้ดินสอคือ แร่กราไฟต์ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน การผลิตไส้ดินสอดำ เริ่มต้นด้วยการผสมแร่กราไฟต์ กับดินเหนียว ซึ่งดินเหนียวจะเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่จะทำให้ไส้ดินสอแข็งแรง คือยิ่งผสมดินเหนียวมากขึ้นเท่าไร ไส้ดินสอดำก็ยิ่งแข็งขึ้น และมีสีอ่อนลง

ขั้นตอนการผลิตดินสอไม้ก้ไม่ยุ่งยาก เริ่มต้นด้วยการนำแผ่นไม้ที่เตรียมไว้มาเซาะให้เป็นร่องยาว ๆ จากนั้นก็หยอดกาวลงไป และลำเลียงแผ่นไม้มาประกบคู่กันคล้ายกับแซนวิช จากนั้นก็เข้าห้องอบให้กาวแห้งโดยใช้อุณห๓มิ 45 องศาเซลเซียสนาน 3 ชั่วโมง แล้วนำมาแยกส่วนให้เป็นแท่ง ๆ

ดินสอ

ดินสอไม้ที่เป็นดินสอดำ มีการแบ่งระดับความเข้มอ่อนของไส้ดินสอกราไฟต์ไว้ 20 ระดับ ซึ่งเป็นมาตราฐานทางฝั่งยุโรปโดยใช้อักษร H และ B

H – Hardness / ความแข็ง

B – Blackness / ความดำ

ดินสอที่ใช้เขียนโดยทั่วไป จะใช้ดินสอที่มีความเข้มระดับ HB ดินสอที่เหมาะสำหรับระบายกระดาษคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ความเข้มระดับ 2B ขึ้นไป

ส่วนจิตรกรนิยมใช้ดินสอ ความเข้มระดับ EE ในการวาดเขียน

EE – Extra Extra

ดินสอ 1 แท่ง เขียนได้ประมาณ 80 หน้ากระดาษ กว่าที่จะได้เป็นดินสอสัก 1 แท่ง ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ดินสอแท่งเล็ก ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องใหญ่ ๆ มากมาย

กราไฟด์ ผลิตดินสอ

ขั้นตอนการผลิตดินสอ

ขั้นตอนการผลิตไส้ดินสอและดินสอ

แกรไฟต์เป็นธาตุคาร์บอนในรูปแบบหนึ่ง คล้ายกับเพชรและถ่าน และสามารถมาใช้อุปกรณ์เบรครถยนต์ อุสาหกรรมเหล็กกล้าและแบตเตอร์รี่ โครงสร้างของแกรไฟต์จะอ่อนและไม่แข็งแรงนักและสามารถหลุดลอกได้ง่าย มีโครงสร้างเป็นเกล็ดบางซ้อนกันเป็นเป็นชั้นๆ เกาะกันอย่างหลวมๆ เวลาเขียน แกรไฟต์ชั้นบางๆ จะหลุดร่อน และลอกติดไปบนพื้นผิววัสดุทำให้เกิดรอยสีดำขึ้นแกรไฟต์ไม่สามารถผลิตได้และได้มาจากการทำเหมืองเป็นต้น ปกติการทำเหมืองต้องมีเปอร์เซ็นต์ แกรไฟต์ประมาณ30%

ในการทำไส้ดินสอนั้น จะเริ่มจากการนำผงแกรไฟต์ที่บดละเอียด มาผสมรวมกับดินขาว และน้ำ แต่ถ้าเป็นดินสอสีก็จะผมสีลงไปด้วยครับ ต่อจากนั้น นำไปอัดเป็นแท่งขนาดใหญ่ก่อนแล้วให้ความร้อนที่ 160 องศาเซลเซียส เพื่อไล่ความชื้นออก หลังจากนั้นไปอัดผ่านหัวอัดให้มีขนาดไส้ตามเส้นผ่านศูนย์กลางตามความต้องการ ไส้ที่ได้ออกมาเป็นแท่งยาว ก่อนนำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,000- 1,200 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงนำไปตัดและเคลือบด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทำให้ไส้ดินสอเรียบและมัน ทำให้เขียนได้ลื่น และสุดท้ายการประกอบเป็นแท่งดินสอ ก็จะใช้กาวผนึกให้ติดแน่นกับปลอกไม้ที่ใช้หุ้ม โดยไม้ที่นำมาใช้ต้องเป็นไม้เนื้ออ่อนพอควร เพื่อทำให้เหลาง่าย ส่วนใหญ่จะเป็น ไม้ซีดาห์ ซึ่งปกติเอามาใช้ในการทำ เฟอร์นิเจอร์ได้ เป็นต้น

ความเข้มดินสอ

ทั้งนี้ ดินสอที่ผลิตอยู่ในท้องตลาดมีตั้งแต่ 9H ซึ่งมีไส้ดินสอที่แข็งที่สุดแต่ให้สีอ่อนที่สุด ไล่ไปที่ 8H, 7H, 6H, 5H, 4H, 3H, 2H, H, F และ HB ซึ่งเป็นดินสอระดับมาตรฐานสำหรับงานเขียน ไปจนถึงระดับ B, 2B, 3B, 4B, 5B, 6B, 7B, 8B และ 9B ซึ่งเป็นดินสอที่มีไส้อ่อนที่สุดแต่ก็สีดำที่สุด

สรุปตามคำถามได้ว่า ดินสอที่มีตัว H มากจะยิ่งให้สีอ่อนลงเรื่อยๆ ในทางตรงข้าม ดินสอที่มีตัว B มากจะยิ่งมีสีเข้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยดินสอที่มีความเข้มมากจะใช้ในการแรเงา ส่วนดินสอที่มีความเข้มน้อยจะใช้ในการร่างภาพ

อย่างไรก็ตามตามกฏเกณฑ์ ความเข้มอ่อนของไส้ดินสอของแต่ละผู้ผลิตก็ไม่เหมือนกันเพราะไม่มีมาตรฐานตายตัว ตัวอย่างเช่น ดินสอ 2B ของบริษัท ก กับ บริษัท ข ความเข้มของสีก็ไม่เท่ากัน นอกจากเกณฑ์การวัดระดับไส้ดินสอตามระบบยุโรปแล้ว ยังมีระบบตัวเลขที่ใช้กันในอเมริกา โดยดินสอเบอร์ 1= B, ดินสอเบอร์ 2 = HB, ดินสอเบอร์ 2 1/2 = F, ดินสอเบอร์ 3 = H และดินสอเบอร์ 4 = 2H

สนับสนุนโดย ufa656.win