Friday, 19 April 2024

ทำความรู้จัก…เทเลทับบีส์ 

ปก ทำความรู้จัก...เทเลทับบีส์ 

ทิวทัศน์ของทุ่งหญ้าเขียวขจี เขื่อนเนินเขาสูงต่ำต่างระดับโอบรอบล้อมบ้านทรงโดมหลังคา ปกคลุมด้วยหญ้าที่ฝังตัวอยู่ในจุดศูนย์กลางของพื้นที่ และกังหันลมวิเศษบนยอดเนิน เป็นเอกลักษณ์ของฉากสุดคลาสสิกของ เทเลทับบีส์ รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในยุค 90 ที่บอกเล่า สะท้อนค่านิยมทางสังคม และจิตวิญญาณของยุค หรือที่เรียกกันว่า ไซท์ไกสท์ (Zeitgeist) ได้เป็นอย่างดี owenhillforsenate พามารู้จักเทเลทับบีส์กันค่ะ

เทเลทับบีส์ ตามแบบต้นฉบับออกอากาศในช่วงเช้าทางช่อง BBC II ประเทศอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ. 1997 – 2001 สร้างโดย แอนดรูว์ ดาเวนพอร์ท (Andrew Davenport) ผู้เขียนบทกว่า 365 ตอนของรายการ และ แอนน์ วูด (Anne Wood) ผู้อยู่เบื้องหลังคอนเซ็ปต์ของรายการและฉากของเทเลทับบีส์แลนด์ บ้านโดมซึ่งพลางตัวในเนินหญ้าที่ภายในซุกซ่อนไปด้วยเทคโนโลยีสุดไฮเทค

เนื้อหาของรายการ เทเลทับบีส์ เน้นส่งเสริมการเรียนรู้แบบเนียนๆ โดยให้เด็กสอนกันเอง ช่วงหนึ่งของรายการนั้นจะนำคลิปวิดีโอกิจกรรมของเหล่าเด็กๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีดนมวัวในฟาร์ม การทำพิซซ่าในร้านอาหาร ไม่ก็ชงช็อกโกแลตร้อนในคาเฟ่ และอื่นๆ มาฉายผ่านจอทีวีบนหน้าท้องเหล่าเทเลทับบีส์ทั้งสี่ โดยเมื่อกังหันลมวิเศษเริ่มหมุน เหล่าเทเลทับบีส์จะมารวมตัวกัน เพื่อลุ้นว่าคลิปวิดีโอจะไปโผล่บนหน้าท้องของใคร ในช่วงอื่นๆ ของรายการนั้น เหล่าเทเลทับบี้บ้างก็วิ่งเล่นไปรอบๆ เต้น ร้องเพลง หัวเราะ กลิ้งไปมาบนพื้น เล่นสไลเดอร์ ทำทับบีส์คัสตาร์ด รือขนมปังปิ้ง อยู่ในเทเลทับบีส์แลนด์นั่นเอง

teletubbies

เทเลทับบีส์แลนด์

เทเลทับบีส์แลนด์เป็นฉากถ่ายทอดขอบเขตของดินแดนอันบริสุทธิ์ที่มีแต่ความสนุกสนาน ซึ่งทุกๆ วันนั้นเป็นฤดูร้อน อากาศดี มีพระอาทิตย์ยิ้มแย้มและสดใส เทเลทับบีส์ จาก ค.ศ. 1997 – 2001 ไม่ได้ถ่ายทำในสตูดิโอ แต่เป็นการถ่ายทำกลางแจ้ง โดยทีมงานต้องขุดหลุม ปรับพื้นที่ ก่อสร้าง เซ็ตฉากเนินเขาและบ้านโดมบนพื้นที่ของฟาร์มทุ่งนาในเมือง Wimpstone มณฑล Warwickshire ประเทศอังกฤษ

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายสำหรับแฟนๆ ที่อยากจะไปวิ่งเล่นในดินแดนแห่งนี้สักครั้ง เพราะด้วยกระแสตอบรับที่ดีมากๆ ทำให้มีผู้คนจำนวนมากมายแอบแวะเวียนไปยังเทเลทับบีส์แลนด์ ณ ฟาร์มชนบทแห่งนี้ ที่ซึ่งไม่เคยต้องการจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว จนทำให้เจ้าของที่และคนในท้องถิ่นรู้สึกอึดอัดกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและการบุกรุกพื้นที่ปศุสัตว์ของตัวเอง

12 ปีหลังจากหลังนั้น ใน ค.ศ 2013 เจ้าของที่ได้ตัดสินใจปล่อยน้ำให้ท่วมดินแดนแห่งนี้ และเปลี่ยนให้กลายบ่อเพาะเลี้ยงปลาและขายพืชน้ำแทนทเลทับบีส์ เป็นรายการที่สามารถจับกลิ่นอาย สาระสำคัญของสมัยนิยม และปฏิกิริยาของผู้คนรวมถึงเด็กๆ ในช่วงปลายยุค 90 ได้เป็นอย่างดี สภาพสังคมและสภาพแวดล้อมที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เครื่องจักร หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติที่กำลังพัฒนา และค่อยๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนอาจคิดว่าเทเลทับบีส์เป็นสิ่งมีชีวิตต่างดาวเข้ามาอาศัยบนโลก แต่แท้ที่จริงแล้ว แรงบันดาลใจของตัวละครและองค์ประกอบนั้น เริ่มต้นมาจากความสำเร็จในการเดินทางไปดวงจันทร์ใน ค.ศ. 1969 จนถึงความเทอะทะและท่าทางการเดินแปลกๆ ของมนุษย์ในชุดนักบินอวกาศ ที่ทำให้รู้สึกเหมือนเด็กทารกสวมผ้าอ้อม

เทเลทับบี้

ทิงกีวิงกี, ดิปซี, ลาล่า และ โพ เป็นเด็กทารก 3 ขวบในชุดนักบินอวกาศที่มีเสารับสัญญาณบนหัวและจอทีวีบนหน้าท้องสภาพแวดล้อมภายนอกของเทเลทับบีส์แลนด์ล้อมรอบไปด้วยทุ่งหญ้าเขียวขจี ต้นไม้ ทุ่งดอกไม้หลากสีสัน กระต่ายอีสเตอร์วิ่งไปมา แม้กระทั่งบ้านทรงโดมก็ยังมีหลังคาปูหญ้า เหมือนตัวบ้านนั้นฝังอยู่ในพื้นดิน และกำลังพรางตัวให้เข้าภูมิทัศน์รอบๆ เป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่อ่อนน้อม ไม่ต้องการเป็นจุดดึงสายตาหรือสร้างจุดเด่นใดๆ

ตัวบ้านประกอบด้วยประตูทางเข้าทางออก ติดตั้งอยู่ด้านหน้าและด้านหลัง หน้าต่าง 4 บานรอบตัวโดม ด้านบนโดมมีรูเชื่อมต่อกับสไลเดอร์สีชมพู ที่เทเลทับบีส์ทั้งสี่ใช้ขึ้นลงในช่วงเปิดและปิดรายการ ประตูและหน้าต่างออกแบบจากรูปทรงครึ่งวงกลม เจาะช่องแพตเทิร์นรูปดอกไม้ช่วยการสร้าง ‘Ornament’ หรือ อลงกรณ์เครื่องประดับตกแต่งที่มีฟังก์ชันและความหมายให้กับตัวบ้าน

ในนัยยะหนึ่งรูปทรงกลีบดอกไม้ทำหน้าที่เป็นช่องให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามา อีกนัยยะช่วยสร้างบุคลิกและความสนุกให้กับบ้าน พร้อมสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งปลูกสร้างกับธรรมชาติภายนอก เมื่อผ่านประตูอัตโนมัติเข้าด้านใน เราจะพบกับกลิ่นอายสถาปัตยกรรมยุคโพสต์โมเดิร์น (Post- modern) ว่าด้วยการปลดแอกจากความซ้ำซากทางรูปทรง และความจืดชืดของสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์นที่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ในหลายๆ ครั้ง สถาปัตยกรรมโพสต์โมเดิร์นมักถูกมองว่าเป็นการออกแบบที่เอ่อล้น การใช้สัญลักษณ์ของรูปทรงฟุ่มเฟือย ในทางกลับกัน แก่นแท้ของสถาปัตยกรรมยุคโพสโมเดิร์นคือการสร้างประสบการณ์เชิงพื้นที่ให้กับผู้ใช้งาน

สนับสนุนโดย ufax7.vip