Tuesday, 19 March 2024

ประวัติ ที่มาทางม้าลาย

ปก  ประวัติ ที่มา ของทางม้าลาย

ทำความรู้จัก ทางม้าลาย (Pedestrian Crossing) ประวัติความเป็นมา ประโยชน์ และข้อปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับทางม้าลายที่ทุกคนควรรู้ ทางม้าลายยังมีประวัติน่าสนใจ เพราะเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ว่าไม่ต้องการให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จึงคิดหาทางออกที่ง่ายที่สุดเพื่อจัดระเบียบสังคม พร้อมกับเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินเท้า แล้วเคยสงสัยไหมว่า ทำไมทางม้าลายต่างเมืองต่างถิ่นถึงมีหน้าตาและลายเส้นคล้ายคลึงกันหมด

owenhillforsenate ไม่ได้แค่ค้นข้อมูลมาตอบ แต่จะพาไปทำความเข้าใจตั้งแต่จุดเริ่มต้นของแนวคิดสร้างทางข้ามถนน จนถึงจุดพลิกผันที่ทำให้ทางม้าลายกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะวงดนตรีในตำนานอย่างเดอะบีเทิลส์

ทางม้าลาย ถือเป็นเครื่องหมายจราจรที่เกี่ยวข้องกับทั้งผู้ขับรถและคนเดินเท้า ซึ่งถูกใช้เป็นสากลทั่วโลก แต่กลับเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกละเลยมากที่สุด ทั้งคนขับรถบนท้องถนนที่ไม่ยอมจอดให้คนข้าม และคนเดินข้ามถนนที่ไม่ยอมข้ามทางม้าลาย (รวมทั้งสะพานลอย) ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งแล้วครั้งเล่า วันนี้เราจึงจะพาไปทำความรู้จักกับที่มาและสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับทางม้าลายที่ทุกคนควรรู้กัน

ทางม้าลายให้เด็กๆข้ามโรงเรียน

ประวัติความเป็นมาของทางม้าลาย

ทางม้าลาย (Pedestrian Crossing) ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1934 โดยในตอนนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ มีลักษณะเป็นเส้นตรงสลับช่องในแนวขวางเหมือนอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้ เพื่อให้คนใช้ข้ามถนน แต่ในช่วงแรกจะเป็นการทดลองใช้หลากหลายสี มีทั้งเส้นสีเหลือง-น้ำเงิน หรือสีขาว-แดง หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1951 ก็ถูกปรับมาใช้เป็นสีเดียวกันหมดคือสีขาว-ดำ พร้อมทั้งตั้งชื่อเรียกว่า Zebra Crossing ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภาษาไทยว่า “ทางม้าลาย” ก่อนที่จะเริ่มถูกนำไปใช้แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก นอกเหนือจากวิธีการใช้งาน ‘ทางม้าลาย’ ที่เราต่างรู้กันดีว่าเป็นจุดตัดระหว่างทางข้ามกับถนน ซึ่งรถทุกคันที่สัญจรผ่านต้องหยุดให้ทางคนเดินเท้าก่อนเสมอ

ทางม้าลาย มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์หลัก ๆ ของทางม้าลายก็คือ เป็นทางสำหรับให้คนใช้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยมีกฎและข้อบังคับให้รถที่วิ่งบนท้องถนนต้องชลอความเร็วก่อนถึงทางม้าลาย และหยุดรถเพื่อให้คนข้ามถนน รวมทั้งคนข้ามก็ต้องใช้ทางม้าลายในการข้ามถนนด้วย นอกเสียจากว่าใกล้เคียงบริเวณนั้นจะไม่มีทางม้าลายหรือสะพานลอยอยู่เลย

นอกจากนี้ทางม้าลายบางแห่งที่คนพลุกพล่านจะมีไฟสัญญาณสำหรับคนข้ามด้วย โดยไฟแดงจะหมายถึงให้คนหยุดรอข้าม เมื่อไฟเขียวแล้วรถจะต้องหยุดเพื่อให้คนสามารถเดินข้ามได้ แต่ถ้าหากไฟสีเขียวกระพริบขณะที่กำลังข้าม ให้รีบเดินข้ามจนถึงอีกฝั่งก่อนที่ไฟจะกลายเป็นสีแดง

ทางม้าลายให้เด็กๆข้ามโรงเรียน

ทางคนข้ามเกิดจากความสูญเสีย รถยนต์คันแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 1886 โดย คาร์ล ฟรีดริช เบนซ์ (Karl Friedrich Benz) วิศวกรยานยนต์ชาวเยอรมัน ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีเดินทางในเวลาต่อมา เพราะรถยนต์ต้องการถนนราบเรียบที่แบ่งช่องทางสัญจรอย่างเป็นระเบียบ เมื่อถนนแต่ละสายตัดผ่านพื้นที่อยู่อาศัย จึงจำเป็นต้องสร้างทางให้คนเดินขนาบข้างและเดินข้ามถนนให้เป็นกิจจะลักษณะด้วย

แต่กว่าทางม้าลาย (แบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน) แห่งแรกของโลกจะถือกำเนิดขึ้นก็ล่วงเลยเข้าสู่ต้นทศวรรษ 1930 สาเหตุหลักที่ผลักดันให้สังคมหันมาสนใจเรื่องนี้จริงจัง คือความตายของการเดินเท้าก่อนหน้า ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะบนถนนหนทางยังไม่มีสัญลักษณ์เตือนให้รถหยุด คนในยุคนั้นจึงเดินข้ามถนนกันแบบตามมีตามเกิด

ย้อนกลับไปก่อนหน้า บริดเจต ดริสคอลล์ (Bridget Driscoll) หญิงชาวอังกฤษวัย 44 ปี คือผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชนรายแรกในประวัติศาสตร์ ขณะที่เธอกำลังจะเดินพ้นถนนและก้าวขึ้นทางเท้าพอดี เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นวันที่ 17 สิงหาคม 1896 ในกรุงลอนดอน กลายเป็นข่าวลงหน้าหนังสือพิมพ์ และสร้างความแตกตื่นให้ทั้งผู้ใช้รถและคนเดินเท้าอยู่พักใหญ่จนกระทั่งสหราชอาณาจักรประกาศบังคับใช้กฎหมายจราจรปี 1934 ซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า รถต้องจอดให้คนเดินข้ามถนนก่อน พร้อมประดิษฐ์เสาไฟใหม่เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายขึ้นมา

สนับสนุนโดย ib888.vip