Wednesday, 3 April 2024

บอกต่อหนังสือ Feel Good พร้อมรับปี 2022

28 Oct 2022
328

ปก หนังสือ

บางครั้งเวลาที่เหนื่อยหรือท้อใจ “หนังสือดีๆ สักเล่มอาจกลายเป็นเพื่อนคุณได้ ” Mission Review วันนี้เราพาพนักงาน  มาบอกต่อหนังสือ Feel Good ที่อยากให้อ่านพร้อมแบ่งปันมุมมองความคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือเหล่านี้แล้วลุกขึ้นมาลุย พร้อมรับปี 2022 ไปด้วยกัน

1.ทักษะความสุข

ทำความเข้าใจ “ความสุข” ผ่านมุมมองของจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ สารเคมีในสมอง ความรัก กิเลส การจัดการเวลา ค่านิยมของสังคม ไปจนถึงดีเอ็นเอ เพื่อให้เห็นว่า “ความสุข” ฝึกกันได้หนังสือเล่มนี้จะชวนเพื่อนผู้อ่านทำความเข้าใจ “ความสุข” ผ่านมุมมองของจิตวิทยา วิทยาศาสตร์ สารเคมีในสมอง ความรัก กิเลส การจัดการเวลา ค่านิยมของสังคม ไปจนถึงดีเอ็นเอ เพื่อให้เห็นว่า ในส่วนหนึ่งความสุขฝึกกันได้ เราสามารถสร้างนิสัยของความสุขให้กับตัวเอง แต่ก่อนอื่น ต้องรู้ก่อนว่า “ทักษะ” ที่ว่านั้นคืออะไร เพื่อทำความเข้าใจสุขและทุกข์ในใจเรา รวบรวมเนื้อหามาจากหนังสือ ผู้คน คลิปวิดีโอ งานวิจัย และเรื่องราวที่หลากหลาย นำมาเล่าแบบเข้าใจง่าย อ่านเพลิน ได้ประโยชน์

เนื้อหาในเล่มถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจากเนื้อหาของพอดแคสต์ “ความสุขโดยสังเกต พอดแคสต์” เป็นคู่มือเล็กๆ สำหรับการฝึกคิด ฝึกมอง ฝึกนิสัย และฝึกใจให้เป็นสุข เปิดอ่านวันละบท แล้วฝึกทักษะความสุขไปด้วยกัน เชื่อว่าเล่มนี้จะเติมพลังให้กับคุณได้อย่างแน่นอน

2.I Called Him Necktie

“ ผมเรียกเขาว่า เน็กไท เป็นชื่อที่ถูกใจเสียจนเขาหัวเราะออกมา ลายทางสีแดงสลับเทาบนหน้าอก นั่นคือความทรงจำเกี่ยวกับเขาที่ผมอยากเก็บไว้ ”ข้างต้นคือประโยคเริ่มต้นของนิยายเรื่อง ‘ผมเรียกเขาว่าเน็กไท (I Called Him Necktie)’ งานเขียนขนาดกะทัดรัดร้อยกว่าหน้า ซึ่งมีคุณสมบัติ ‘ทำน้อย ได้เยอะ’ อยู่เต็มเปี่ยม

‘ผมเรียกเขาว่าเน็กไท’ เป็นผลงานของมิเลนา มิชิโกะ ฟลาซาร์ นักเขียนสตรีลูกครึ่งชาวญี่ปุ่น-ออสเตรีย (แม่เป็นคนญี่ปุ่น พ่อเป็นคนออสเตรีย) เธอเกิดเมื่อปี 1980 สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งเวียนนา สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ และทำงานเป็นครูสอนภาษาเยอรมันให้กับชาวต่างชาติ ควบคู่ไปกับการเป็นนักเขียน (ตั้งแต่ปี 2008) ตลอดระยะเวลาในการอ่านนิยายเรื่องนี้ สิ่งที่ผมรู้สึกคือ ชีวิตเต็มไปด้วยเรื่องทุกข์เศร้า เจ็บปวด สูญเสีย และความยากลำบากหนักหนาสาหัสในการดำรงอยู่ แต่พร้อมๆ กันนั้น นิยายเรื่องนี้ก็ทำให้ผมรู้สึกด้วยเช่นกันว่า ชีวิตเต็มไปด้วยแง่มุมงดงาม น่าอัศจรรย์ และเหนือสิ่งอื่นใด มันควรค่าแก่การดิ้นรนต่อสู้เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่

3.โลกนี้ไม่ได้มีคำตอบเดียว

เราชอบคิดว่า “ชีวิต” เหมือนกับ “ข้อสอบ” ทุก “คำถาม” ต้องมี “คำตอบ” ที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว ผิดจากนี้ไม่ได้ แต่ “ชีวิต” ไม่ใช่ “ข้อสอบ” ที่ครูกำหนดเราตั้งโจทย์เอง และตอบเอง “คำตอบ” ของเราจึงไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น เพราะไม่มีชีวิตของใครเหมือนกับเรา เราคือเราและเรารู้จักตัวเรามากที่สุด ทุกคนล้วนมี “คำตอบ” ที่เหมาะสมของตัวเอง

เรื่องราวเบื้องหลัง “คำตอบ” อันหลากหลายของผู้คนที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาส-พลิกโลกทั้งใบด้วยคำตอบใหม่ๆ ที่ไม่มีใครคาดถึงไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ ประภาภัทร นิยม จากโรงเรียนรุ่งอรุณ “นักตั้งคำถาม” ผู้เชื่อมั่นในพลังของคำตอบที่หลากหลายโมริโอกะ สึโยชิ จาก “ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ เจแปน” ที่แก้ปัญหายอดผู้เยี่ยมชมสวนสนุกลดลงเรื่อยๆ ด้วยการพลิกแพลงตะแคงคิดหาคำตอบใหม่ในงบประมาณจำกัด มารุต ชุ่มขุนทด จาก “คลาส คาเฟ่” ผู้เปลี่ยนคำตอบของธุรกิจ สู้โควิดด้วยกลยุทธ์ “รถพุ่มพวง”

คำตอบสำหรับโลกใบนี้มีมากมาย เพราะโลกน่ะมีหลายมุมให้มอง และเพราะเราไม่อาจหาคำตอบได้โดยที่ยังไม่เข้าใจปัญหา “โลกนี้ไม่ได้มีคำตอบเดียว” จึงไม่ได้พยายามจะมอบคำตอบตายตัวให้คุร ไม่อาจทำอะไรมากไปกว่าการตบไหล่อย่างเพื่อนที่เข้าใจกันดีแล้วย้ำเบาๆ ให้เรามองให้ลึก มองให้รอบ ตั้งสติก่อนหาคำตอบ จากสามสิบเรื่องราว สามสิบคำตอบอันหลากหลาย เราหวังว่าคุณจะได้ “อาวุธใหม่” ไปใช้หาคำตอบที่เป็นของคุณเอง

สนับสนุนโดย ufa6556.pro