Friday, 19 April 2024

เรื่องของปุ๋ย ปุ๋ย

25 Mar 2023
217

ปก เรื่องของปุ๋ย ปุ๋ย

เมื่อไรที่พืชไม่เจริญเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น การใส่ปุ๋ยคือสิ่งแรกที่หลายคนนึกถึง owenhillforsenate จะชวนทุกคนปุ๋ยจึงเป็นอะไรก็ตามที่เราเติมลงไปในดินแล้วช่วยเพิ่มธาตุอาหารหรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่าง เพื่อให้พืชที่เพาะปลูกไว้งอกงามขึ้นมาได้ ซึ่งถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนก็ต้องอ้างอิงคำจำกัดความตามพระราชบัญญัติปุ๋ยที่ว่า ปุ๋ย คือ สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ได้ สังเคราะห์ขึ้นมาก็ได้ สำหรับเพิ่มธาตุอาหารให้พืชหรือปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีในดิน และส่งผลให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็นองค์ประกอบ หรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดินแล้ว จะปลดปล่อยหรือสังเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช ปุ๋ยแบ่งออกได้ 4 ประเภทดังนี้

1.) ปุ๋ยเคมี คือ สารประกอบอนินทรีย์ให้ธาตุอาหารแก่พืช เป็นสารประกอบที่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีเมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสม ประโยชน์ของปุ๋ยเคมีคือปุ๋ยจะละลายให้พืชดูดไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้มีปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆกัน และแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 ปุ๋ยเดี่ยว คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเพียงตัวเดียวในสูตร เช่น 46-0-0, 0-3-0, 0-0-60 ฯลฯ

1.2 ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตั้งแต่สองตัวขึ้นไปในสูตร เช่น 16-20-0, 16-16-8, 13-13-21 ฯลฯ

ปุ๋ย

2.) ปุ๋ยอินทรีย์ คือ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่พืช สัตว์และจุลินทรีย์ผ่าน กระบวนการผลิตทางธรรมชาติปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดีรากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์มี 3  ประเภท คือ

– ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยที่ต้องผ่านกระบวนการหมักก่อนนำไปใช้งาน ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้ที่เป็นสารอินทรีย์มาหมักจนกว่าจุลินทรีย์จะทำงานเสร็จสิ้น แล้วได้เป็นปุ๋ยที่มีความทนทานต่อการย่อยสลายเพิ่มขึ้น ธาตุอาหารในปุ๋ยหมักก็จะแตกต่างกันไปตามแต่วัสดุที่เราเลือกใช้ เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวมาหมักก็จะได้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง ถ้าใช้ซังข้าวโพดมาหมักก็จะได้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เป็นต้น กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แนะนำถึงลักษณะของปุ๋ยหมักที่ดีเอาไว้ว่า ต้องมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย และมีสีน้ำตาลปนดำ ข้อดีที่โดดเด่นของปุ๋ยหมักก็คือการปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช เนื้อดินจะมีความร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น แบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในดินก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นด้วย แต่ข้อเสียคือต้องมีความเข้าใจถึงวิธีการทำและใส่ใจดูแลตลอดระยะเวลาหมัก จึงจะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพตามต้องการ

– ปุ๋ยคอก ปุ๋ยจากมูลสัตว์ที่มีคุณภาพในแง่ของการให้แร่ธาตุอันเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยวัดจากอาหารที่สัตว์เหล่านั้นกินเข้าไปเป็นประจำ เมื่อประเภทของอาหารที่ต้องการและกลไกภายในร่างกายของสัตว์แต่ละชนิดแตกต่างกัน แร่ธาตุที่ได้จากมูลสัตว์จึงแตกต่างกันด้วย เช่น มูลโคจะมีธาตุไนโตรเจนสูงกว่าธาตุชนิดอื่น ขณะที่มูลสุกรจะมีธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่า เป็นต้น การใช้ปุ๋ยคอกจะให้ผลดีในระยะยาว ไม่ใช่แค่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่ดีให้กับดินเท่านั้น แต่ยังปรับสภาพดินเดิมให้ดีขึ้นทั้งด้านกายภาพและชีวภาพ จากดินเหนียวแน่นก็จะร่วนซุยและระบายอากาศได้ดีขึ้น ส่วนข้อเสียก็จะเป็นเรื่องของการสลายตัวอย่างรวดเร็วของธาตุอาหาร เราจึงต้องใส่ใจในการเก็บรักษาและควรรีบนำไปใช้งานในช่วงที่ปุ๋ยยังสดใหม่อยู่

– ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบพืชบางชนิดหลังจากเติบโตได้ระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้พืชเหล่านั้นย่อยสลายโดยธรรมชาติและกลายเป็นแร่ธาตุในดิน โดยลักษณะของพืชที่นิยมใช้จะต้องเป็นพืชโตไว ขยายพันธุ์ง่าย และต้องไม่เป็นต้นเหตุในการเกิดโรคพืชอื่นๆ ด้วย ข้อดีของการใช้ปุ๋ยพืชสดคือทำได้ง่ายและชดเชยอินทรียวัตถุที่สูญเสียไประหว่างฤดูกาลเพาะปลูกที่ผ่านมาได้ดีมาก ยิ่งกว่านั้นยังมีส่วนช่วยปรับโครงสร้างเม็ดดินให้ระบายอากาศและอุ้มน้ำได้ดีขึ้นด้วย

ปุ๋ยอินทรีย์

3.) ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่และมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถ เปลี่ยนธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้ปุ๋ยชีวภาพแบ่งออกได้2 ประเภทคือ

3.1 กลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืช ไนโตรเจนได้เอง ได้แก่

– ไรโซเบี่ยม ที่อยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่ว

– แฟรงเคีย ที่อยู่ในปมรากสนทะเล

– สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ที่อยู่ในโพรงใบของแหนแดง และจุลินทรีย์ที่อาศัยในดินอย่างอิสระ

3.2 กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมาก ขึ้น เช่น ไมคอร์ไรซา ที่ช่วยให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดินละลายออกมาอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ ได้

4.) ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์และโรคมนุษย์รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่ว ๆ ไปด้วย จากนั้นนำจุลินทรีย์ ที่มีสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลอดเชื้อมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวและทำการหมักต่อไปจนกระทั่งจุลินทรีย์ที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่จุลินทรีย์เหล่านั้นนอกจากจะช่วยตรึง ไนโตรเจน ให้แก่พืชแล้ว ยังช่วยผลิตสารฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากพืชและจุลินทรีย์บางชนิดยัง สามารถควบคุมโรคพืชในดินและกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย

สนับสนุนโดย ufa108.win