ซิลิโคน ทุกคนรู้จักสารนี้แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าประกอบด้วยอะไรและผลิตอย่างไร ซิลิโคนเป็นสารประกอบทางเคมี โพลีเมอร์ออร์แกโนซิลิกอนสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างของไซลอกเซน ซิลิโคนอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงซึ่งมีจำหน่ายตามร้านค้าต่างๆ นั้นมาจากพลาสติกหลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นซิลิโคนเรซินและโพลิไซล็อกเซน มักประกอบด้วยสารผสมหรือสารตัวเติมต่างๆ รวมทั้งสีย้อม สารต้านอนุมูลอิสระ สารควบคุมพื้นผิว เช่นเดียวกับเชื้อรา สารฆ่าเชื้อรา และสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ท่านเจ้าของบ้านหลายท่านคงเคยพบเจอปัญหาน้ำรั่วซึมจากบริเวณรอยร้าวของผนังบ้าน วงกบประตู หน้าต่าง ขอบมุมกระจก หรือสุขภัณฑ์ เคยลองยิงซิลิโคนเองก็แล้ว จ้างช่างมายิงก็แล้ว ปัญหาดังกล่าวไม่หมดไป น้ำยังซึมอยู่ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไร ? วันนี้ owenhillforsenate จะพามาหาคำตอบไปพร้อมกัน
คุณสมบัติของซิลิโคน
ซิลิโคนเป็นสารที่ใช้กันทั่วไป เนื่องจากคุณสมบัติทางกลของซิลิโคนเป็นหลัก ขอบเขตการใช้งาน ได้แก่ อุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องสำอางและยา ลักษณะพื้นฐานของซิลิโคน
– ไม่ติดไฟ ใช้งานได้ในสภาวะที่อาจเกิดไฟไหม้
– ความต้านทานความร้อน คุณสมบัตินี้ช่วยให้สามารถใช้ซิลิโคนในอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ
– ทนต่อสารเคมี คุณสมบัตินี้ช่วยให้ซิลิโคนสามารถรวมกับน้ำมันและสารเคมีอื่นๆ
– ฉนวนไฟฟ้า ซิลิโคนเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม เนื่องจากมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ซิลิโคนมีกี่ประเภท
ซิลิโคน คือวัสดุยาแนวประเภทหนึ่ง ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
- ซิลิโคนแบบมีกรด
ข้อดีคือ : มีความยืดหยุ่นกำลังดี ไม่อ่อน ไม่แข็งจนเกินไป, ทนรังสี UV, แรงยึดเกาะสูง และสามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก แห้งเร็ว ทำให้จบงานได้เร็ว
ข้อเสีย : ห้ามใช้กับวัสดุที่มีพื้นผิวเป็นเซรามิค โลหะ และหิน เพราะซิลิโคนจะทำปฎิกิริยากับพื้นผิวดังกล่าว
- ซิลิโคนแบบไม่มีกรด
ข้อดี : เหมาะสำหรับใช้กับพื้นผิวที่เป็นหิน เซรามิค หรือ โลหะ เพราะจะไม่กัดพื้นผิว ไม่มีกลิ่น
ข้อเสีย : ราคาแพงกว่าแบบมีกรด และแห้งช้ากว่า
ข้อสังเกต : ยาแนวประเภทซิลิโคนนี้ไม่สามารถทาสีทับได้ แต่ก็มีให้เลือกอยู่หลายสี อาทิ สีใส สีขาว และสีดำ ซึ่งสีใสก็เหมาะสำหรับกระจก ส่วนสีขาวเหมาะกับการใช้กับสุขภัณฑ์ห้องน้ำ ส่วนสีดำก็ใช้ได้กับท็อปเคาน์เตอร์ครัวที่เป็นหินแกรนิต เป็นต้น
อีกประเด็นที่น่าสนใจก็คือ บางครั้งเราเลือกใช้วัสดุยาแนวอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อะคริลิค โดยคิดว่าเป็น ซิลิโคน ทำให้งานซ่อมรอยรั่วซึมจุดต่าง ๆ ไม่หมดไปซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะว่า อะคริลิค เนื้อของยาแนวมีส่วนผสมของน้ำมาก มีความยืดหยุ่นน้อยมาก แรงยึดเกาะต่ำ ไม่ทนแดด ไม่เหมาะใช้กับงานโครงสร้างภายนอก
เราในฐานะเจ้าของบ้านไม่มีความรู้ไปเลือกอะคริลิคมายิงอุดกำแพงบ้าน ขอบวงกบหน้าต่าง ประตู ซึ่งล้วนเป็นการใช้งานที่ผิดประเภท ส่งผลให้จบงานไม่ได้ ปัญหายังคงมีต่อไป ซึ่งจริงๆแล้ว อะคริลิค จะเหมาะกับการใช้งานภายใน เช่น ขอบสุขภัณฑ์ ฝ้าเพดาน ยาแนวกระเบื้อง เป็นต้น
โพลียูรีเทน (PU) มีคุณสมบัติอย่างไร ?
พลียูรีเทน มีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับงานอุดรอยโครงสร้างทั้งภายในและภายนอก มีความยืดหยุ่นสูงมาก แข็งแรง ทนทานต่อแรงดันแรงกดทับ ทนรังสี UV ทาสีทับได้ ไม่หลุดไม่ล่อนเหมาะกับงานโครงสร้าง อุด ยึด ติด
สรุปปิดท้ายทั้ง ซิลิโคน, อะคริลิค และ โพลียูรีเทน เป็นวัสดุอุดซ่อมแซมชนิดหนึ่งที่เรียกเหมารวมว่ายาแนว ซึ่งแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติต่างกันไป ให้จำไว้ว่าซ่อมเล็กน้อยภายในเลือก อะคริลิค เพราะทาสีทับได้ แต่หากซ่อมโครงสร้างเลือกใช้ โพลียูรีเทน จะเหมาะกว่าเพราะไม่ต้องกังวลว่ามีกรดหรือไม่มีกรด ใช้ได้กับหินหรือโลหะ ที่สำคัญคุณสมบัติมันดีกว่าซิลิโคนมาก ราคาอาจจะแพงกว่าหน่อย แต่ซ่อมบ้านเราทั้งทีก็ใช้ของดีไปเลยดีกว่าจริงไหมคะ
สนับสนุนโดย ufacash888.com