Thursday, 9 May 2024

ความหลากหลายทางภาษา ที่เราไม่เคยรู้ !

ปก ความหลากหลายทางภาษา ที่เราไม่เคยรู้ !

owenhillforsenate จะพามาดูความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์หรือสุวรรณภูมิ มีความร่ำรวยหลากหลายด้านภาษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยในจำนวนประชากรกว่า 60 ล้านคนนั้น แบ่งได้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาทั้งสิ้นถึง 70 กลุ่ม กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของประเทศ โดยการกระจายตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาต่างๆ ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ แบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ

1) ความสัมพันธ์เชิงเชื้อสายหรือตระกูลภาษา ซึ่งแบ่งเป็นตระกูลใหญ่ๆ ได้ 5 ตระกูล ได้แก่ ตระกูลไท (24 กลุ่ม), ตระกูลออสโตรเอเชียติก (23 กลุ่ม), ตระกูลอสโตรเนเซียน (3 กลุ่ม), ตระกูลจีน – ธิเบต (21 กลุ่ม) และตระกูลม้ง – เมี่ยน (2 กลุ่ม) ดังนี้

2) ความสัมพันธ์เชิงสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ภาษา กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งกว่า 70 กลุ่ม จากตระกูลภาษาต่างๆ นั้น มีสถานภาพทางสังคมหรือมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป ในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่นภูมิภาค และระดับชุมชนโดยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาที่ใช้เชื่อมโยงกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาต่างๆ เข้าด้วยกัน

ภาษาไทยมาตรฐาน เป็นภาษาที่ใช้ในกิจกรรมทางราชการระดับชาติและโอกาสที่เป็นทางการทุกประเภท เป็นสื่อในการเรียนการสอนในโรงเรียนและเป็นภาษาของสื่อสารมวลชนทุกแขนง เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, หนังสือพิมพ์ทั่วทั้งประเทศ

ความหลากหลายทางภาษา

ในแต่ละภูมิภาคมีการใช้ภาษาท้องถิ่นตามภูมิภาค ซึ่งพูดโดยประชากรส่วนใหญ่และใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ภาษาต่างๆ เช่น ภาษาคำเมือง ใช้เป็นภาษากลางในเขตภาคเหนือตอนบน ลาวอีสานใช้ในเขตภาคอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ภาษาปักษ์ใต้ใช้เขตภาคใต้ เป็นต้น ส่วนภาษาของชุมชนท้องถิ่นมักเป็นภาษากลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีทั้งภาษาชุมชนท้องถิ่นในกลุ่มตระกูลไท ซึ่งพูดในภูมิภาคต่างๆ ภาษาพลัดถิ่น ซึ่งส่วนมากเป็นภาษาตระกูลไทจากนอกประเทศที่เข้ามาตั้งถิ่นในเขตประเทศไทยด้วยปัญหาการเมือง สงคราม และการทำมาหากิน เช่น ภาษาลาวต่างๆ ในภาคกลาง เป็นต้น ภาษาในตระกูลอื่นที่อาจจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษามอญ ซึ่งได้อพยพมาอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน เข้ามารับราชการและดำเนินชีวิตโดยสงบสุขมาเป็นเวลานาน

ทางภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือและภาษามลายูถิ่นในจังหวัดชาวแดนภาคใต้ เป็นต้น รวมทั้งมีกลุ่มภาษาเล็กๆ ซึ่งเป็นภาษาในวงล้อมของภาษาอื่นๆ ได้แก่ 1.ชอง 2.กะซอง 3.ซัมเร 4.ชุอุง 5.มลาบรี 6.เกนซิว (ซาไก) 7. ญัฮกุร 8.โซ่ (ทะวึง) 9. ลัวะ (ละเวือะ) 10. ละว้า (ก๋อง) 11. อึมปี 12. บิซู 13.อูรักละโวย และ 14. มอเกล็น

นอกจากภาษาต่างๆ ในสังคมไทยแล้ว การใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการศึกษาและธุรกิจและการเมืองก็มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยภาษาอังกฤษจะมีความสำคัญมากที่สุด ภาษาญี่ปุ่นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจีนกำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ภาษาเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว พม่า มาเลเซียฯ มีความสำคัญ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่นเดียวกัน

จากการที่สังคมไทยเป็นสังคมพหุภาษาและภาษาต่างๆ มีหน้าที่ทางสังคมแตกต่างกันประชากรไทยจึงมักจะเป็นผู้ที่พูดได้ 2 ภาษาหรือ 3 ภาษา หรือมากกว่า ในชีวิตประจำวัน โดยใช้ภาษาท้องถิ่นในครอบครัว หรือในชุมชน ใช้ภาษากลางของท้องถิ่น (แต่ละภูมิภาค) เพื่อติดต่อและค้าขายต่างกลุ่ม และใช้ภาษาไทยกลาง (ไทยมาตรฐาน)

ภาษา

นอกจากนี้ยังมาภาษาในเขตตลาดหรือตัวเมือง ได้แก่ ภาษาจีนต่างๆ และภาษาเวียดนาม (เฉพาะอีสานตอนบน) มีกลุ่มภาษาในเขตแนวชาวแดน ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ โดยต่อเนื่องกับกลุ่มชนเดียวกับข้ามพรมแดนประเทศ เช่น ชาวเขาต่างๆ ในภาคเหนือ, ภาษามอญและกะเหรี่ยงในทางภาคตะวันตก, ภาษาเขมรถิ่นไทย

แต่อย่างไรก็ตามในโลกปัจจุบันภาษาต่างๆ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลุ่มชาติพันธุ์ภาษาต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากโลกาภิวัตน์ ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมสมัยใหม่ซึ่งมีอิทธิพลจากโลกตะวันตกได้มีการแพร่ขยายอย่างไว้พรมแดน ด้วยอำนาจและความเจริญด้านการสื่อสารมวลชนที่ทรงพลัง ทำให้สามารถเข้าถึงในเกือบทุกพื้นที่ แม้ในเขตห่างไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ (ในบางพื้นที่) โดยใช้ภาษาใหญ่ระดับชาติเช่น ภาษาราชการหรือ ภาษานานาชาติ (ภาษาอังกฤษ)

ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จำนวนมากจึงอยู่ในภาวะถดถอย วิกฤตและอาจสูญสิ้นไป สภาวะการดำเนินชีวิตด้านการในภาษาที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่

  • โอกาสของอาชีพการงาน ทำให้ทุกคนต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาสำคัญภาษาใหม่ๆ เช่น ภาษาราชการ ภาษาประจำชาติหรือภาษานานาชาติ (อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ)
  • การทำงานตามแหล่งงานนอกชุมชน ทำให้มีการใช้ภาษากลางมากขึ้น และใช้ภาษาท้องถิ่นน้อยลง
  • การแต่งงานเข้ากลุ่ม ทำให้ความเข้มข้นการใช้ภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลดลง โดยใช้ภาษาที่มีอิทธิพลในพื้นที่หรือใช้ภาษากลาง ส่งผลต่อการใช้ภาษาภายในบ้านและการส่งผลต่อการรักษามรดกทางภาษาแก่ลูกหลาน

สนับสนุนโดย baccarat1688.pro