Thursday, 2 May 2024

ทำไมเราถึงแพ้นม ?

ปก ทำไมเราถึงแพ้นม ?

เราอาจเคยสังเกตหรือพบเห็นคนที่เรารู้จักมักเอ่ยปากกันอยู่บ่อย ๆ ว่าดื่มนมแล้วท้องเสีย อาการท้องเสียดังกล่าวเกิดจากอะไร เรียกว่าการแพ้นมหรือเปล่า แล้วทำไมถึงแพ้นม และถ้าแพ้นมควรทำอย่างไร owenhillforsenate มีข้อมูลมาให้คลายสงสัยกันค่ะ

อาการท้องเสียหรืออาการไม่สบายท้องอาจเกิดขึ้นได้กับคนที่ดื่มนม ซึ่งคนโดยส่วนใหญ่เหมารวมว่ามันคืออาการแพ้นม แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เราควรทำความเข้าใจก็คือ อาการที่เกิดขึ้นอาจเกิดจาก 2 เหตุปัจจัยหลักคือ อาการแพ้โปรตีนในน้ำนมกับอาการแพ้น้ำตาลแล็คโตส

นมวัวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากมาย แต่ก็มีเด็กและผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่แพ้นมวัว โดยหลังการรับประทานนมวัวอาจมีอาการปวดท้อง เกิดผื่นคัน หายใจลำบาก และบางคนอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต หากทราบถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการแพ้นมวัวก็จะสามารถป้องกันการเกิดอาการได้

นมเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตที่พบได้บ่อยรองจากถั่วลิสงและถั่วเปลือกแข็งชนิดต่าง ๆ ควรสังเกตตนเองหรือลูกว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นหลังจากดื่มนมวัวหรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมจากนมวัวหรือไม่ หากสงสัยว่ามีอาการแพ้ แม้ว่าจะไม่ร้ายแรง ก็ควรไปพบแพทย์และทำการทดสอบอาการแพ้

แพ้นมวัว

แพ้โปรตีนในน้ำนม

อาการแพ้โปรตีนในน้ำนม หรือเรามักเรียกว่าอาการแพ้นมวัว (Cow’s milk allergy) อาการแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เด็กทารกที่แพ้โปรตีนในน้ำนมแม่กับเด็กที่แพ้โปรตีนในน้ำนมวัว

การแพ้โปรตีนในน้ำนมวัวมีสาเหตุมาจากเด็กทารกไม่สามารถที่จะย่อยโปรตีนชนิดหนึ่งในน้ำนมได้และเมื่อร่างกายดูดซึมโมเลกุลใหญ่นี้เข้าไปเกิดปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานและแสดงอาการแพ้ออกมา  เช่น ผื่นเรื้อรัง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด มีน้ำมูกเรื้อรัง หรือหอบหืด เป็นต้น ซึ่งภาวการณ์แพ้นี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถดื่มนมได้อีกต่อไปแต่เมื่อเด็กมีลำไส้ที่แข็งแรงขึ้น จนสามารถดูดซึมโปรตีนโมเลกุลใหญ่ได้  ก็จะสามารถดื่มนมได้และไม่เกิดอาการแพ้

ส่วนการแพ้น้ำตาลแล็คโตส (Lactose intolerance) ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ใหญ่มากกว่า ซึ่งเป็นภาวะที่ลำไส้ไม่สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยแล็คโตสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่พบมากในน้ำนมได้เพียงพอ ดังนั้น เมื่อน้ำตาลแล็คโตสที่ไม่ถูกย่อยและไม่ดูดซึมที่ลำไส้เล็ก จะถูกย่อยโดยขบวนการหมักที่ลำไส้ใหญ่ และนี่คือต้นเหตุของอาการไม่สบายท้อง รุนแรงถึงขั้นอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นนั่นเอง

การแพ้น้ำตาลแล็คโตสอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าการขาด/พร่องเอนไซม์แล็คเตส (Lactase deficiency) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก 3 ภาวะสำคัญดังนี้คือ ภาวะพร่องเอนไซม์แล็คเตส (Primary lactase deficiency/ Primary adult type hypolactasia) เป็นในผู้ใหญ่หรือเด็กโต เกิดจากการที่ผนังลำไส้เล็กผลิตเอนไซม์แล็คเตสลงได้น้อยลงเรื่อย ๆ ตามอายุมากขึ้น ภาวะขาดเอนไซม์ตั้งแต่เกิด (Congenital lactase deficiency) และภาวะขาดเอนไซม์ตามหลังการอักเสบติดเชื้อของลำไส้ (Secondary lactose intolerance) เนื่องจากผนังลำไส้เล็กถูกทำลายทำให้ผลิตเอนไซม์แล็คเตสได้น้อยลงชั่วคราว เช่น ตามหลังการติดเชื้อต่าง ๆ

แพ้นม

อาการและอาการแสดงโรคแพ้โปรตีนนมวัวแบ่งตามระบบ ดังนี้

ผิวหนัง : ผื่นลมพิษ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบวมแบบเฉียบพลัน ผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

ระบบทางเดินหายใจ :น้ำมูกไหล ไอแห้ง คัดจมูก นอนกรน หายใจเสียงหวี๊ด หอบ, Heiner syndrome

ระบบทางเดินอาหาร : ริมฝีปากบวม อาเจียน ถ่ายเหลวเฉียบพลัน ถ่ายมีมูกเลือดเรื้อรัง

อาการแพ้รุนแรงเฉียบพลันทั่วตัว (Anaphylaxis)

กล่าวโดยสรุปได้ว่า หากเรามองที่อาการที่เกิดขึ้นคืออาการท้องเสีย ไม่สบายท้องอาจทำให้เราเข้าใจผิดว่าอาการแพ้โปรตีนในน้ำนมกับอาการแพ้น้ำตาลแล็คโตส เป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน แต่หากสังเกตจากศัพท์บัญญัติทางการแพทย์ (ภาษาอังกฤษ) Lactose กับ intolerance นั้นไม่เหมือนกัน และนี่คือความแตกต่างโดยชัดเจน

สนับสนุนโดย ufa365auto.co