Thursday, 9 May 2024

ย้อนอดีตละครไทยฉายในทีวี

ปก ย้อนอดีตละครไทยฉายในทีวี

owenhillforsenate จะพาทุกคนย้อนกลับไปดูละครเรื่องแรกที่ฉายทางโทรทัศน์ สุริยานีไม่ยอมแต่งงาน ละครไทยเรื่องแรก ฉายทางสถานีช่อง 4 บางขุนพรหม สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย หลังจากที่ประเทศไทยเปิดสถานีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรก ต่อมาอีก 2 เดือน จึงเริ่มมีละครโทรทัศน์เรื่องแรก คือเรื่อง สุริยานีไม่ยอมแต่งงาน ของนายรำคาญ (ประหยัด ศ. นาคะนาท) นำแสดงโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ โชติ สโมสร และ นวลละออ ทองเนื้อดี ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2499 ละครโทรทัศน์ในยุคนั้นเป็นการแสดงสด ส่วนละครพูดที่แต่งขึ้นใหม่สำหรับแสดงทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ เป็นละครสั้นจบในตอน เนื่องจากห้องส่ง (สตูดิโอ) มีขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องใช้ฉากจำกัด นอกจากนี้นักแสดงยังจำบทละครไม่ได้ จึงต้องมีการบอกบทขณะแสดงด้วย ในปีแรก ๆ มีละครโทรทัศน์เพียง 6 เรื่อง อีก 5 เรื่องได้แก่ กระสุนอาฆาต (ออกอากาศเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2499) ,ดึกเสียแล้ว (ออกอากาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499), น้ำสาบาน (ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2499), ศัตรูลับของสลยา (ออกอากาศเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2499) และ ง่ายนิดเดียว (ออกอากาศเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2499)

ลักษณะของละครไทย

ในอดีตละครโทรทัศน์ไทย มีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องชนชั้นสูง ตัวละครมุ่งเน้นไปที่ฝ่ายดี ฝ่ายเลว สามารถเดาตอนจบของเรื่องได้ง่าย มักจะจบลงแบบสุขนาฏกรรม (happy ending) มีการนำมาทำซ้ำกันบ่อยครั้ง มีขนบการเล่าเรื่อง ตัวละคร และสูตรที่ค่อนข้างตายตัว ละครส่วนใหญ่เป็นไปตามลักษณะดังนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ได้รับความนิยมมาก

ละคร

– เป้าหมายหลักคือมีตอนจบที่สมบูรณ์แบบ ให้ตัวละครนำแต่งงานกับคู่ครองของตน และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

– มีการกำหนดคู่รักหลักสองคนตั้งแต่เปิดเรื่อง ซึ่งผู้ชมสังเกตได้โดยง่าย มักเป็นดาราละครที่ได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้น เป็น “พระเอก” และ “นางเอก”

– มีตัวโกงเป็นหญิงอย่างน้อย 1 คนเป็นเรื่องปกติ บุคคลนี้มักตกหลุมรักพระเอก และพยายามขัดขวางความรักของคู่พระ-นาง พยายามเป็นแฟนกับพระเอก ขณะเดียวกันพยายามกำจัดนางเอกไปด้วย ตัวละครนี้มีลักษณะตายตัวมักมีฐานะร่ำรวย ภูมิหลังดี พฤติกรรมไม่ดี และคอยบงการ ตัวละครเหล่านี้บางตัวเป็นผีหญิงที่ชั่วร้าย ปกติตัวละครเหล่านี้เรียก “นางอิจฉา”

– ตัวละคร LGBT มักใช้เป็นบทตลกคลายเครียด ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่น สะใภ้ลูกทุ่ง

– ปมในเรื่องทั้งหมดต้องคลี่คลายในตอนจบ ทุกฝ่ายให้อภัยกัน ตัวโกงถูกลงโทษ คนดีได้รางวัล

– ละครไทยมักเป็นละครประโลมโลก กล่าวคือ มีการแสดงเกินจริง การกระทำเหมือนอยู่บนละครเวที ตัวโกงหญิงมีการกรีดร้องดิ้นพล่าน

พ.ศ. 2501 ยุคเริ่มเฟื่องฟูของละครไทย

ละครโทรทัศน์เริ่มได้รับความนิยมราวปี พ.ศ. 2501 นักแสดงละครเวทีเริ่มหันมาเล่นละครโทรทัศน์กันมากขึ้น ช่อง 4 มีผู้นิยมชมกันมาก ส่วนสถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.) ช่อง 7 หรือ ช่อง 5 ในปัจจุบันก็เริ่มบุกเบิกด้านละครโทรทัศน์มากขึ้น ส่วนใหญ่จะนำเรื่องละครเวทีมาทำใหม่ แต่ก็มีเรื่องที่แต่งสำหรับละครโทรทัศน์มากขึ้น ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2505-2510 ทั้ง 2 สถานีแข่งขันผลิตละครดี ๆ มาออกอากาศจำนวนมาก แต่กิจการละครโทรทัศน์ก็เริ่มเสื่อมไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องยาวกลับมาได้รับความนิยม

ละครโทรทัศน์กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เมื่อมีการใช้เทปบันทึกภาพแทนไทยทีวีสีช่อง 9 หรือช่อง 4 เดิม มีการจัดละครโทรทัศน์มากกว่าช่องอื่น ๆ ออกอากาศตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในลักษณะละครน้ำเน่าของอเมริกาโดยละครเรื่อง ทัดดาวบุษยา เมื่อ พ.ศ. 2519 ได้รับความนิยมอย่างมาก หลังจากนั้นก็มีการผลิตละครแนวนี้มากขึ้น ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2522 ช่อง 5 ได้ผลิตละครเรื่อง 38 ซอย 2 ซึ่งถือว่าเป็นละครสำหรับครอบครัวครั้งแรก มีคติธรรมในการดำเนินชีวิตครอบครัว

ในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) ได้มีคำสั่งให้งดออกอากาศในช่วงเวลา 18.30-20.00 น. เพื่อให้ประหยัดพลังงาน จึงทำให้ละครได้รับความนิยมลดลง พร้อมกันนั้นภาพยนตร์จีนก็เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 กบว. ได้ขอความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ให้เสนอรายการของไทยแทนรายการต่างประเทศ ในช่วงเวลาหลังข่าว 20.00 น. จึงทำให้ละครไทยกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง จึงมีละครโทรทัศน์ในช่วงหลังข่าว 20.00 น. กันทุกช่อง ได้ดำเนินยุทธวิธีนี้มาจนปี พ.ศ. 2530 แต่บางช่องมีการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีการจัดรายการในช่วงหลังข่าวอยู่บ้าง

ละครโทรทัศน์

รู้จัก ประเภทของละครไทย

– ละครประเภทพิเศษ (Drama special) เล่นในวาระโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น วันแม่ วันที่ระลึกของหน่วยงานต่าง ๆ ละครการกุศล มีลักษณะตอนเดียวจบ มักใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

– ละครสั้น (TV series) มีความยาวระหว่าง 30-60 นาที ออกอากาศเป็นประจำ เนื้อหาในแต่ละตอนจะเป็นแนวเดียวกัน และใช้ผู้แสดงชุดเดียวกัน แต่เรื่องราวแตกต่างกันไป

– ละครเรื่องยาว (TV. serials) ละครเรื่องยาวที่เล่นหลายตอนจบ ประมาณ 20-30 ตอน เนื้อเรื่องต่อเนื่องกัน ออกอากาศเป็นประจำ ใช้ผู้แสดงเป็นชุดเดียวกัน เป็นที่รู้จักในชื่อ Soap operas

– ละครสั้น (Mini series) เป็นละครที่ผลิตเป็นเรื่องยาว มีความยาวตั้งแต่ต้นจนจบมากกว่า 3 ชั่วโมง จึงจำเป็นต้องแบ่งออกอากาศมากกว่า 1 ครั้ง ออกอากาศในเวลาเดียวกันในวันต่อไป หรือสัปดาห์ต่อไปจนจบเรื่อง มักมีความยาว 2-8 ตอน

– ละครจบในตอน (Anthology series/anthology drama) ผู้แสดงไม่ใช่ชุดเดียวกัน และเรื่องราวแต่ละตอนไม่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น ปากกาทอง, เขย่าขวัญวันพุธ, ฟ้ามีตา ออกอากาศทางช่อง 7 สี เป็นต้น

– ซิตคอม (sit-com) ละครแนวสนุกสนานมีลักษณะล้อเลียนสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น จบในตอน ใช้นักแสดงชุดเดียวกันและเล่นบทบาทเดิม

สนับสนุนโดย baccarat77.co