Saturday, 27 April 2024

หม่อนไหม และผ้าไทย

ปก-หม่อนไหม-และผ้าไทย

owenhillforsenate จะพาทุกคนมารู้จักแมลงที่มีใย จนสามารถนำมาทอเป็นผ้าได้ ไหม เป็นแมลงประเภทผีเสื้อตัวหนอนไหมกินพืชได้หลายชนิด แต่ชอบกินใบหม่อนมากที่สุด ทว่าหม่อนจัดเป็นพืชยืนต้นซึ่งเจริญเติบโตค่อนข้างช้า ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านที่เลี้ยงไหม จึงมักปลูกสวนหม่อนควบคู่ไปด้วยอยู่เสมอ เชื่อกันว่ามนุษย์เริ่มเลี้ยงไหมเป็นครั้งแรก ในประเทศจีนเมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว วงจรชีวิตของไหมประกอบด้วย ระยะที่เป็นไข่ระยะตัวหนอนระยะดักแด้ และระยะผีเสื้อคุณสมบัติพิเศษของตัวไหมคือ ช่วงระะยะซึ่งเป็นดักแด้ ตัวหนอนจะสร้างรังไหมห่อหุ้มตัวเอง และรังไหมนี่เองที่สามารถสาวออกมาเป็นเส้นใยเส้นเล็กๆ ซึ่งมีความเหนียว และเป็นมันวาวสวยงาม เหมาะต่อการนำไปทอเป็นผืนผ้าพันธุ์ไหม ในประเทศไทยที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  1. ไหมพันธุ์ไทย เป็นไหมพื้นเมือง ชาวบ้านเลี้ยงเพื่อใช้ทอผ้าไหมพื้นบ้าน รังไหมของไหมพันธุ์ไทยสีออกเหลืองตุ่น มีขนาดเล็ก หัว ท้ายแหลม คล้ายกระสวยให้ผลผลิตต่ำ เส้นไหมมีขนาดโต แต่ก็ความแข็งแรงเหนียวแน่น
  2. ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นพันธุ์ไหมที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับไหมพันธุ์ต่างประเทศ รังไหมพันธุ์นี้มีสีเหลืองสด ขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตสูงกว่าไหมพันธุ์ไทย และเส้นใยมีขนาดเล็กกว่าไหมพื้นเมือง
  3. ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม เป็นพันธุ์ไหมจากการผสมระหว่างพันธุ์ญี่ปุ่นและพันธุ์จีน รังไหมมีสีขาว ขนาดใหญ่ ลักษณะกลมรีคล้ายรูปไข่ เปลือกรังหนา ให้ผลผลิตสูง เส้นใยละเอียดเหนียวแน่น นิยมเลี้ยงเพื่อส่งไปจำหน่ายยังโรงงานสาวไหม

เส้นไหม

เลี้ยงไหม..เอาเส้นใย

ไหม คือ เส้นใยจากรังไหมผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ผีเสื้อชนิดนี้อ้วนป้อม มีขนขาวและสีครีมคลุมเต็มตัว ปีกมีลายเส้นสีน้ำตาลอ่อนหลายเส้นพาดตามแนวขวาง เมื่ออยู่ในช่วงวัยอ่อนจะเป็นตัวหนอนสีขาวหรือครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายขาที่ปลายหาง หนอนไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยกินใบหม่อนเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้เพื่อฟักตัวเป็นผีเสื้อ ในช่วงนี้เองที่เรานำมาต้มเพื่อสาวเส้นใยออกมาทอเป็นผืนผ้าได้

ไหมเป็นแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (completely metamorphosis insect) แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อ วงจรชีวิตไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 9-10 วัน กลายเป็นหนอนไหม ในระยะนี้หนอนไหมจะกินใบหม่อนเป็นอาหาร และนอนประมาณ 4-5 ช่วง ใช้เวลาประมาณ 22-26 วัน พอหนอนไหมแก่ หรือสุกจะชักใยทำรังหุ้มตัวเอง ตัวไหมจะลอกคราบเป็นตัวดักแด้อยู่ในรัง ช่วงเป็นรังไหมใช้เวลาประมาณ 8-10 วัน จากนั้นดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อ ผีเสื้อไหมจะใช้น้ำลายซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างละลายใยไหม และเจาะรังไหมออกมาผสมพันธุ์และวางไข่ โดยจะมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ประมาณ 2-3 วัน ก็จะตาย

เส้นไหมที่ชาวบ้านนำมาทอเป็นผืนผ้านั้น ส่วนหนึ่งได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาวบ้านเอง สมัยก่อนชาวบ้านจะเลี้ยงหนอนไหมสายพันธุ์นางน้อย ปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้พัฒนาสายพันธุ์และส่งเสริมให้เลี้ยงพันธุ์ดอกบัว พันธุ์นางตุ่ย เป็นต้น

เส้นไหม

การเก็บไหมสุก

  1. ไหมสุก หมายถึง หนอนไหมวัย 5 ที่กินใบหม่อนเต็มที่แล้ว ก็จะเริ่มสุก พร้อมที่จะพ่นเส้นใย ในวัย 5 ใช้เวลาประมาณ 5-6 วัน ไหมก็จะเริ่มสุก หยุดกินใบหม่อน หากเป็นไหมไทยก็จะสังเกตได้ง่าย คือลำตัวหนอนไหมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองใส เพราะภายของตัวหนอนไหมส่วนที่เป็น silk-gland ก็จะเต็มไปด้วยสารพ่นใยไหม ซึ่งไหมไทยมีสีเหลืองจึงทำให้เห็นได้ชัด แต่หากเป็นไหมลูกผสมก็จะมีสีขาวใสโปร่งแสง ในระยะนี้หนอนไหมพร้อมที่จะพ่นใยไหมออกมาเพื่อห่อหุ้มตัว เรียกว่า ไหมทำรัง แล้วหนอนไหมก็จะพัฒนาไปเป็นดักแด้อยู่ภายในรัง สภาพที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ ประมาณ 24 องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์
  2. การเก็บไหมสุกเข้าจ่อ ให้ทำการเก็บไหมสุกโดยการใช้มือ นำไปใส่ลงในจ่อ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับไหมทำรัง ปริมาณหนอนไหมต่อจ่อจะต้องมีความเหมาะสมไม่แน่นจนเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดรังแฝด ซึ่งเป็นรังไหมชนิดหนึ่งของรังเสีย การเก็บไหมสุกเข้าจ่อจะต้องทำการเก็บให้ทันเวลา คือ จะต้องเก็บไหมสุกเข้าจ่อก่อนที่ไหมสุกจะพ่นเส้นใยทำรัง เพราะจะกระทบต่อผลผลิตรังไหม
  3. การเก็บเกี่ยวรังไหม ให้หนอนไหมทำรังอยู่ในจ่อประมาณ 5-6 วัน จึงทำการเก็บรังไหมออกจากจ่อ จากนั้นก็นำรังไหมไปทำการสาวเส้นไหมต่อไป

สนับสนุนโดย ufalove.vip