Sunday, 8 September 2024

อร่อยอันตราย ! เลือก “ไส้กรอก” อย่างไรให้ปลอดภัย ?

19 Oct 2022
354
ปก ไส้กรอกอันตราย ไส้กรอก” อาหารแปรรูปที่กินง่าย อร่อย แต่อาจแฝงด้วยภัยอันตราย หลังศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เตือนว่าอย่ากินไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัด หรือไม่น่าเชื่อถือ เพราะมีเด็กป่วยด้วยภาวะเมธฮีโมโกลบินพร้อมกันหลายคน มาดูกันว่าภาวะนี้มีสาเหตุจากสารไนเตรตและไนไตรต์ในไส้กรอกจริงหรือไม่ ? ในการทำอาหารแปรรูป จำเป็นต้องใส่สาร 2 ชนิดนี้หรือไม่ ? แล้วควรเลือกไส้กรอกอย่างไรให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ? “ปัจจุบันการผลิตไส้กรอกของไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าไปมาก ผู้ผลิตรายใหญ่นำเทคโนโลยีการผลิต เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง การผลิตโดยไม่ใช้สารกันเสียอื่นๆ นอกเหนือจากสารที่จำเป็นและมีอยู่ในสูตรการผลิต ทั้งยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในมาตรฐานความปลอดภัย” สำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไส้กรอก แนะนำให้พิจารณาจากลักษณะภายนอกของไส้กรอก ที่ไม่ควรมีสีชมพูหรือแดงเข้มจนเกินไป สีของผลิตภัณฑ์ควรเป็นตามสีของวัตถุดิบตั้งต้นด้วย ขณะที่รสชาติต้องตรงกับความเป็นธรรมชาติของประเภทของเนื้อสัตว์นั้น ๆ ที่สำคัญ ควรเลือกผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ บนบรรจุภัณฑ์จะต้องระบุสถานที่ผลิต วันผลิต และวันหมดอายุอย่างชัดเจน มีเครื่องหมาย อย. หรือ มอก. เป็นต้น ขณะเดียวกัน ไส้กรอก เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูปที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการทำให้สุกโดยใช้ความร้อน ดังนั้น ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้วิธี “อุ่น” ไส้กรอกได้ง่ายๆเพียงนำไปลวกในน้ำร้อน นึ่ง หรือ อุ่นในไมโครเวฟ หลีกเลี่ยงการทอดก็จะเลี่ยงการได้รับไขมันจากวิธีทอดด้วย

ต้องการคอลเซียมเท่าไหร่ในแต่ละวันเพื่อรักษาสุขภาพร่างกาย?

To maintain good physical health, it is important to consume a sufficient amount of calcium for your body. This essential mineral supports healthy bones and teeth, prevents osteoporosis, and aids in muscle function, nerve transmission, and blood clotting. Daily recommended calcium intake varies depending on age and gender, ranging from 1,000 to 1,300 milligrams. Incorporate calcium-rich foods like dairy products, leafy greens, and fortified cereals into your diet to meet these requirements effectively.

สารปรุงแต่ง ในไส้กรอก ใส่เพื่ออะไร ?

โซเดียมไนไตรท์ และ โปรตัสเซียมไนเตรท ที่เรียกกันทั่วไปว่า ดินประสิว เป็นวัตถุเจือปนในอาหาร ประเภทสารกันเสีย  ซึ่งจะทำให้เนื้อสัตว์มีสีแดงอมชมพูน่ารับประทาน เช่น ในไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เนื้อเค็ม เป็นต้น นอกจากนี้หน้าที่หลักของสารกลุ่มนี้ คือเป็นสารกันเสีย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย กลุ่มโบทูลินั่ม ซึ่งเป็นตัวการของโรคอาหารเป็นพิษ ถ้าใส่ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ยกเว้นในบางรายที่มีอาการแพ้หรือร่างกายตอบสนองไวต่อสารเหล่านี้

เมื่อเราแพ้ “ไส้กรอก” จะเป็นอย่างไร

สังเกตอาการเบื้องต้นในกรณีที่เราเกิดอาการแพ้สารเจือปนในไส้กรอก ไม่ว่าจะเป็น ไนเตรต ไนไตรท์ หรือสารประกอบอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายตอบสนองไวต่อสารเหล่านี้ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด และปวดศีรษะ ข้อควรระวังยิ่งไปกว่านั้นคือ สารไนไตรท์ สามารถทำปฏิกริยากับสารกลุ่มเอมีนในยาฆ่าแมลง ที่สะสมอยู่ในผักผลไม้ที่เราทาน ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะ และมะเร็งหลอดอาหารได้ด้วย 

มาตรการทางกฎหมาย กับไส้กรอกอันตราย

อย. ได้มีการกำหนดปริมาณสูงสุดของสาร 2 ตัวนี้ ที่จะใช้เจือปนในอาหาร โดยสารไนเตรท หรือเกลือไนเตรท ใช้ได้ในปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และสารไนไตรท์ หรือเกลือไนไตร์ท ใช้ได้ในปริมาณไม่เกิน 125  มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ในทางกฎหมายระบุว่า หากตรวจพบว่า มีการใช้สารดังกล่าวเกินมาตรฐาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีคำสั่งให้ผู้ผลิตหรืผู้นำเข้าอาหารดังกล่าว งดผลิตหรืองดนำเข้าจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไข   ทั้งนี้ คนไทยไม่ได้บริโภคไส้กรอกกันเป็นอาหารหลัก หรือมากเท่ากับคนในชาติตะวันตก ดังนั้น ในเรื่องปริมาณการบริโภคจึงไม่มีประเด็น อย่างไรก็ตาม หากรับประทานร่วมกับผักต่าง ๆ ก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการขับถ่าย รวมทั้งควรรับประทานอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ควบคู่การออกกำลังกายด้วย ก็จะทำให้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง และห่างไกลโรคภัย

สนับสนุนโดย ufa6556.pro