Sunday, 8 September 2024

เช็กอาการไบโพลาร์

28 Oct 2022
365
ปก ไบโพล่าร์ โรคไบโพลาร์ คืออะไร ? โรคไบโพลาร์ หรือ Bipolar Disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของอารมณ์เด่นชัด โดยมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ ร้องไห้ อ่อนเพลีย อยากตาย หรืออาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครึกครื้น พูดมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงด้านเดียว กรณีอารมณ์ครื้นเครง หรือมีอาการสองด้านก็ได้

อาการไบโพลาร์สามารถทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้หรือไม่?

อาการไบโพลาร์สามารถทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นได้หรือไม่? การกินอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงและมีคอเลสเตอรอลสูงแห่งเอาใจใส่อาจมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของเรา ทางการแพทย์ชี้ให้เลือกแทนที่ด้วยอาหารที่ต่ำไปในคอเลสเตอรอลและมะเร็งต่อไปนี้ high-cholesterol foods and heart disease.

อาการไบโพลาร์เป็นอย่างไร ?

1.อารมณ์คลุ้มคลั่ง (Manic Episode)รู้สึกคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง บางครั้งคิดว่าตนเองเป็นใหญ่ ไม่หลับไม่นอนกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข พูดมาก พูดไม่หยุด คิดฟุ้งซ่าน จะทำโน่นทำนี่ คิดทำการใหญ่โต วุ่นวาย กิจกรรมมาก อาจใช้จ่ายผิดปกติมาก สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย 2.อารมณ์เศร้า (Depressive Episode) ซึมเศร้า หมดความสนใจและความเพลิดเพลินลงมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือนไม่หลับหรือหลับมากไปอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงรู้สึกผิดหรือไร้ค่า ร้องไห้ง่ายสมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้คิดอยากตาย หรือการฆ่าตัวตาย ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจเกิดช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือเป็นอยู่ยาวนานแล้วหายไป จากนั้นเปลี่ยนสลับมาเกิดอารมณ์อีกขั้ว หรืออาจเป็นอารมณ์ขั้วใดขั้วหนึ่งติดต่อกันหลายๆ รอบ ทั้งนี้ไม่มีอาการใดอาการหนึ่งแน่นอนตายตัว ดังนั้นการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น  เคยเป็นคนเรียบร้อยไม่ค่อยพูด  กลับกลายเป็นคนพูดคุยไม่หยุด เสียงดัง กล้าแสดงออกมากเกินไป  หรือจากคนที่มีความมั่นใจสูง กลายเป็นคนปล่อยตัว เงียบลง ซึมเศร้า เก็บตัว  หรือป่วยบ่อยๆ  หากพบคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็นคนละคน  ควรพาไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

สาเหตุของโรคไบโพลาร์

จากการศึกษาพบผู้ป่วยไบโพลาร์มากถึง 1.5 -5 % ของประชาชนทั่วไป พบผู้ป่วยบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 15-19 ปี และอายุ 20-24 ปี   โดยผู้ป่วยมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี มากถึง 50% โดยไบโพล่าเกิดจาก สาเหตุดังนี้ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline)  สารเซโรโทนิน (Serotonin)  และสารโดปามีน (Dopamine)  ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ พันธุกรรม ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบที่ชัดเจนของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์   แต่พบผู้ป่วยมักมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์เช่นเดียวกัน วิกฤตชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ตกงาน เครียดเรื้อรัง หรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์อย่างรุนแรง

สัญญาณเตือนไบโพลาร์

หากสงสัยว่าตัวเองเป็น ไบโพลาร์ อาจเช็กอาการเบื้องต้นได้ โดยถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ มีปัญหาการทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ อาจมีความคิดสร้างสรรค์เฉียบพลัน ขยันมากจนเพื่อนร่วมงานตามไม่ทัน หรือซึมเศร้าจนไม่สามารถทำงานให้ลุล่วงตามกำหนดเวลาได้ มีอาการเหมือนโรคซึมเศร้า เช่น เบื่ออาหาร  นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ  และอ่อนแรง เป็นต้น พูดเร็วจนไม่สามารถจับใจความได้ บางครั้งอาจพูดมากจนไม่สนใจคำพูดคนอื่น ชอบพูดแทรก หรือเปลี่ยนหัวข้อสนทนาไปมาจนเกิดความสับสน ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยๆ จนเริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในครอบครัวและที่ทำงาน อารมณ์ดีเกินไป ดีใจกับเรื่องปกติทั่วไป หัวเราะเสียงดังจนน่าตกใจ บางครั้งอาจเกิดสลับกับภาวะซึมเศร้า เริ่มใช้ยาเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาหรือให้รู้สึกผ่อนคลาย หากใช้บ่อยเกินไปอาจเสพติด จนเพิ่มปัญหา และทำให้การรักษาโรคไบโพลาร์ยากและซับซ้อนขึ้น การนอนผิดปกติไป เวลาในการนอนลดลง แต่กลับไม่รู้สึกอ่อนเพลีย หรือบางกรณีอาจนอนมากเกินไป แต่ยังรู้สึกว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสมาธิ ฟุ้งซ่าน กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
รักษาไบโพลาร์
พบจิตแพทย์ เพื่อเข้ากระบวนการบำบัดใจ จะได้รับยาและกระบวนการบำบัดตามการวินิจฉัยของแพทย์ เช่น จิตบำบัดชนิดต่าง ๆ รักษาให้หายได้ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในสังคม ทำงานได้ ผู้ป่วยไบโพลาร์ต้องการความเข้าใจและกำลังใจจากครอบครัวและสังคม

สนับสนุนโดย ufa747.cc